แฮทช์ โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ภูเก็ต จำกัด จัด STARTUPS IN RESIDENCE
โพสเมื่อ : Monday, March 13th, 2017 : 12.57 pm
บริษัท แฮทช์ โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ภูเก็ต จำกัด หรือ HATCH COWORKING SPACE PHUKET ได้ดำเนินโครงการเร่งสร้างวิสาหกิจเริ่มต้นระยะแรก (Startups in Residence) ภายใต้แนวคิด Startups In Residence “ยกพลขึ้นเกาะ เหาะไปด้วยกัน” ชวนคุณมาติดปีก เร่ง speed ใส่ turbo กับหลากหลาย solution ที่จะช่วยปลุกปั่นปั้นฝันให้รุ่งพุ่งทะยานของเหล่า Startups โดย HATCH COWORKING SPACE PHUKET เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
เมื่อวานนี้ ( 12 มี.ค.) ที่ศูนย์การค้าไลม์ไลน์ ภูเก็ต บริษัท แฮทช์ โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ภูเก็ต จำกัด หรือ HATCH COWORKING SPACE PHUKET จัด STARTUPS IN RESIDENCE : ISLANDER SPACESHIP ยกพลขึ้นเกาะ เหาะไปด้วยกัน” เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ภูเก็ต โดยมีนายวงศกร เทศยรัตน์ HATCH Coworking Space Phuket นายอัจฉริยะ ดาโรช JUMP Space Khon Kaenนายภาวินท์ สุทธพงษ์ Thailand Tech Startup Association นายกิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์ Punspace นายปริวรรต วงษ์สำราญ National Innovation Agency ( NIA ) นายพัทธนันท์ พิสุทธิ์วิมล บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD) นักการตลาดเชิงกลยุทธ์ ร่วมกันเปิดเผยถึงการจัด STARTUPS IN RESIDENCE : ISLANDER SPACESHIP ว่า จากวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรีที่ต้องการพัฒนา “วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เป็นนักรบทางเศรษฐกิจ ใหม่ (New Economic Warrior: NEW) และประเทศไทยจะเป็นพื้นที่เปิดสําหรับการเติบโตของอาเซียน” โดยมียุทธศาสตร์เปิดพื้นที่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) เป็นพื้นที่เปิดรับผู้ที่มีทักษะสูงจากทั่วโลก (Talent) 2) เป็นพื้นที่เปิดรับการเร่งการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Business Growth) 3) เป็นพื้นที่เปิดรับและสนับสนุนการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Investment) และ 4) เป็นพื้นที่เปิดรับการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Ecosystem)
ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee) ยังได้พัฒนา แผนการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น ของประเทศไทย (พ.ศ. 2559-2564) โดยเร่งดําเนินการให้มีการจัดตั้ง โปรแกรมเพื่อบ่มเพาะ และเร่งสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น เพื่อสร้างให้เกิดมาตรฐานในการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างมาตรฐานในการคัดเลือกวิสาหกิจเริ่มต้นในระยะแรก Pre-Seed เพื่อพิจารณาขอรับสิทธิประโยชน์หรือเงินทุนให้เปล่า (Grants) ซึ่งจะช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วผ่านการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ตลอดจนส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการยกระดับ และพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในธุรกิจด้านเทคโนโลยีเป็นสําคัญ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเป็นพื้นที่เปิดรับการเร่งการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น
นอกจากนี้ ทางสํานักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้ดําเนินโครงการ “ย่าน วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup District)” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “เศรษฐกิจนวัตกรรมเชิงพื้นที่” โดยมีแนวคิดของการ วางแผน และออกแบบพื้นที่ และสังคมเมือง เพื่อพัฒนาเมืองหรือย่านให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ของผู้ประกอบธุรกิจ นวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้น โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย และผู้ดําเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อเชื่อมต่อผู้คนและไอเดียภายในย่าน รวมถึงมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน แบ่งปันความรู้แก่กัน ของวิสาหกิจเริ่มต้น ชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเป็นพื้นที่เปิดรับการสร้าง และพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น
ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว ทางสนช. จึงริเริ่มโครงการเร่งสร้างวิสาหกิจ เริ่มต้นระยะแรก (Startups in Residence) สนช. จึงมีความประสงค์ในการจัดหาหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความพร้อมจัดกิจกรรมบ่มเพาะ และเร่งสร้าง การให้ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจรวมทั้งมีพื้นที่ทํางานร่วม (co-working space) เพื่อจัดกิจกรรมเครือข่ายของวิสาหกิจเริ่มต้น ชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มวิสาหกิจ เริ่มต้นเป้าหมายทั้ง 8 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และโลจิสติกส์ (E-Commerce and Logistictech) 2) กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน (Fintech) 3) กลุ่มการเกษตรและอาหาร (Agtech) 4) กลุ่ม การแพทย์และสุขภาพ (Medtech and Healthtech) 5) กลุ่มไลฟสไตล์ การเดินทาง และสื่อ (Lifestyletech – Traveltech– Mediatech) 6) กลุ่มอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) 7) กลุ่มธุรกิจภาครัฐและการศึกษา (Govtech & Edtech) 8) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (Propertytech)
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการนวัตกรรม และวิสาหกิจเริ่มต้นที่อยู่ในเครือข่ายของแต่ละภูมิภาค สามารถต่อยอดแนวความคิดพัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจเริ่มต้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับประเทศที่ช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข้มแข็ง และสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วผ่านการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) 2. เพื่อส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะดําเนินธุรกิจในระดับสากลได้ 3. เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจเริ่มต้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดได้ 4. เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาคมวิสาหกิจเริ่มต้นพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการยกระดับ และพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในธุรกิจด้านเทคโนโลยีอย่างเป็นมาตรฐาน และ 5. เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และวิสาหกิจเริ่มต้นในการพัฒนาประชาคมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Community) ในการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ รายอุตสาหกรรมให้เอื้ออํานวยต่อการจัดตั้ง และเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ
ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สนใจเป็น Startup และนักประดิษฐ์คิดค้น หรือสร้างสรรค์ มีความพยายามอดทน มุ่งมั่น ไปถึงเป้าหมายไม่มีสัญญาผูกมัดกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ขาดเงินลงทุน และเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอโดยได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ มีผู้สมัครมาแล้ว 10 ทีม (ทีมละไม่เกิน 3 ท่าน) และจะคัดเลือก 6 ทีม เพื่อเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2560 เป็นการเริ่มต้นวัน D-Day “ยกพลขึ้นเกาะ เหาะไปด้วยกัน” ทั้งนี้ ผู้เข้ารอบทั้ง 6 ทีม จะได้เข้ามานั่งทำงานที่ Hatch Coworking Space สัปดาห์ละ 5 วัน หรือร้อยละ 80 ของระยะเวลาโครงการ (3 เดือน) สามารถใช้ wifi เครื่องดื่ม ของว่าง ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นโอกาสดีที่ 6 ทีม จะมีพี่เลี้ยง Mentor ให้คำปรึกษาในเรื่องการเขียนโครงการ มีเพื่อนใหม่ๆ ได้แชร์ประสบการณ์ และมีโอกาสพบปะนักลงทุนที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจอีกด้วย ซึ่งจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่าย สัมมนา โดยจัดหาวิทยากรสำหรับรรยาย และ Workshop จำนวนอย่างน้อย 6 ครั้ง
ประกอบด้วยหัวข้อการบรรยายที่เน้นให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าร่วมโครงการให้สามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ startup และมีกิจกรรมเสริมอื่นๆ จัดหาวิทยากรบรรยาย วิทยากรได้แก่ วิทยากรในท้องถิ่น วิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีประสบการณ์ และทักษะด้านนั้นๆ ซึ่งระยะเวลาการจัดเมื่อเริ่มโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2560 สำหรับเงินรางวัลที่จะมอบให้กับผู้ร่วมโครงการ ทีมละ 1 แสนบาท และเงินสนับสนุนเพื่อทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจ:Hatch Phuket Startups หรือโทร. 087 4616406
- อบจ.ภูเก็ต ผุด “ศูนย์ฟอกเลือดด้วยไตเทียม” ขนาด 37 เตียง รองรับผู้ป่วย ไม่ต้องรอค...
- ได้นั่งแน่ รถบัส EV ของอบจ.ภูเก็ต ทดแทน รถโพถ้อง สีชมพู...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีเปิดประติมากรรม ศิลปะร่วมสมัย “ไอ้จุด” Lovel...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “สมุดภาพภูเก็ต”...
- อบจ.ภูเก็ต นำเครื่องจักรปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานหิน (ภัตตาคารวังปลาเดิม)...
- กระแสแรงเกินคาด! SUPALAI SENSE เขารัง ภูเก็ต ยอดขายทะลักวัน Pre-Sales กว่า 200 ล...
- November 2024 (18)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)