พบฝูงโลมาใกล้เกาะไม้ท่อนว่ายน้ำหากินเกือบ 30 ตัว เริ่มถูกรบกวนจากเรือท่องเที่ยว
โพสเมื่อ : Tuesday, May 17th, 2016 : 9.35 pm
สำรวจฝูงโลมาเกือบ 30 ตัว ใกล้เกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ระบุมีการรบกวนจากเรือนำเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวลงพื้นที่ทำความเข้าใจผู้ประกอบการแล้ว ก่อนย้ายฝูงหนีไปอยู่ที่อื่น
วันนี้ ( 17 พ.ค.) นายสุชาติ รัตนเรืองศรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) กล่าวภายหลัง พร้อมด้วย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำเรือของศูนย์ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ออกสำรวจฝูงโลมาปากขวด ที่บริเวณเกาะไม้ท่อน จ.หลังพบว่ายน้ำเข้ามาหาอาหารกินเป็นประจำ
ว่า จากการออกสำรวจฝูงโลมาในครั้งนี้พบโลมาเกือบ 30 ตัว เป็นโลมาปากขวดที่มีฝูงใหญ่มาก โดยโลมาจะว่ายน้ำไปมากันเป็นฝูง เพื่อหาอาหารกินและว่ายน้ำวนเวียนอยู่บริเวณเกาะไม้ท่อน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ห่างจากฝั่งประมาณ 500 – 800 เมตรเท่านั้น การพบฝูงโลมาขนาดใหญ่ในบริเวณดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่าจุดที่พบโลมาเป็นจุดที่ยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารพร้อมทำให้โลมาว่ายน้ำเข้ามาหากินและอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงจากการสำรวจฝูงปลาโลมาในครั้งนี้ พบว่า ฝูงปลาโลมา กำลังถูกรบกวนจากเรือให้บริการนักท่องเที่ยวที่พานักนักท่องเที่ยวไปชมฝูงปลาโลมาอย่างใกล้ชิดเกินไป บางลำพยายามที่จะวนเรือเพื่อต้อนฝูงปลาโลมาให้ว่ายน้ำเข้ามาใกล้เรือมากที่สุด บางลำขับเรือเข้าไปกลางฝูงปลาโลมา ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อโลมาโดยตรงถ้าฝูงโลมาถูกรบกวนมากๆอาจจะทำให้ฝูงโลมาดังกล่าวว่ายน้ำหนีไปหากินที่อื่นแทนก็ได้
ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากทราบว่า ได้มีการติดตามเก็บข้อมูลของฝูงโลมา เพราะจากการสำรวจเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และมีการสำรวจติดตามฝูงโลมาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องของทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พบว่าเดิมฝูงโลมาดังกล่าว เคยหากินและอาศัยอยู่บริเวณเกาะไข่ จ.พังงา แต่มาระยะหลังเกาะไข่มีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นมากทั้งจากเรือท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว จึงพากันย้ายมาหากินที่เกาะไม้ท่อนและเกาะใกล้เคียงที่มีความสงบกว่าแทน
นายสุชาติ ยังกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของตน และทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก วันนี้ ( 17 พ.ค.) ได้ลงพื้นที่บนเกาะไม้ท่อนเพื่อให้ให้ความรู้ให้คำแนะนำ และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวในการนำนักท่องเที่ยวไปชมฝูงโลมาแล้ว คิดว่าน่าจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้ามีการรุกรานหรือรบกวนฝูงโลมาอย่างรุนแรงเชื่อได้เลยว่าฝูงโลมาเหล่านี้จะต้องหนีออกจากพื้นที่แน่นอน เพราะฉะนั้นถ้าผู้ประกอบการ หรือคนภูเก็ตเองต้องการที่จะรักษาให้ฝูงโลมาอาศัยอยู่ที่เกาะไม้ท่อนนานและสามารถออกไปชมได้อย่างใกล้ชิดก็ควรที่จะกำหนดมาตรการในการดูแล โดยเฉพาะการพานักท่องเที่ยวไปชมปลาแบบใกล้ชิดควรที่จะมีแนวปฏิบัติ ซึ่งตามหลักวิชาการระยะที่เหมาะสมในการนำเรือเข้าไปใกล้ฝูงโลมาไม่ควรจะเข้าไปใกล้เกิน 500 เมตร และจะต้องขับเรือแบบช้าๆหรือจอดลอยลำ เพราะโลมาจะว่ายน้ำเข้ามาหาเรือเอง
- อบจ.ภูเก็ต มอบเงินอุดหนุนโครงการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬามวลชนและนันทนาการ จ.ภูเก็...
- ภูเก็ตยกระดับ up level ท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต จัดงาน “Phuket Business Matching”...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ภูเก็ตสีขาว สร้างพื้นที่ปล...
- อบจ.ภูเก็ต เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ประจำปี 2568 สมัยแรก (ครั้งที่ 2)...
- ยิ่งใหญ่ ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ มาอยู่ที่ งาน PHUKET RENOVATION EXHIBITIO...
- ปิดฉากการแข่งขัน “Jungceylon Beach Body Competition 2025”...
- April 2025 (1)
- March 2025 (34)
- February 2025 (23)
- January 2025 (23)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)