ได้เวลาเที่ยว – ลุยสวน ชิม “สาลิกา” ราชาทุเรียนบ้านแห่งเมืองกะปง ที่สุดของความอร่อย
โพสเมื่อ : Wednesday, June 1st, 2022 : 3.59 pm
ได้เวลาเที่ยว – ลุยสวน ชิม “สาลิกา” ราชาทุเรียนบ้าน ที่สุดของความอร่อย แห่งเมืองในหมอก อ. กะปง จ.พังงา หนึ่งปีมีแค่ครั้งเดียว เปิดให้ทานกันถึงสวน กินอิ่มฟินต่อกับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติชื่อดัง ที่รอให้ไปสัมผัส
“ถ้ามาพังงาแล้วไม่ได้ชิมทุเรียน “สาลิกา” ราชาทุเรียนบ้านแห่งเมืองในหมอก อ.กะปง จ.พังงา เหมือนมาไม่ถึง เมืองพังงา เป็นคำกล่าวที่มีการพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบ และ หลงใหลในรสชาติของทุเรียน สำหรับ อำเภอกะปง เป็นอำเภอเล็กๆ ใน จ.พังงา ที่ไม่มีอาณาเขตติดกับทะเล แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชื่อดังหลายแห่ง ทะเลหมอก ภูตาจอ น้ำตกหินลาด น้ำพุร้อนปลายพู่ ถนนคนเดินปากถัก บ่อน้ำร้อนธรรมชาติ และ น้ำตกต่างๆ
ที่สำคัญ กะปง เมืองในหมอก ยังเป็นแหล่งผลิตผลไม้ มากที่สุดของ จ.พังงา และ อ.กะปง แห่งนี้ มีผลไม้พื้นเมืองที่ขึ้นชื่อและโด่งดังเป็นที่รู้จักชาวพังงาและจังหวัดใกล้เคียง นั่นก็คือ ทุเรียนพันธุ์ “สาลิกา” หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า “เรียนสากา” เป็นทุเรียนที่มีรสชาติหวานมัน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งผลิตมังคุดทิพย์ มังคุดออแกนิก ที่มีขื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
สำหรับข่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูที่ผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน “สาลิกา” ซึ่งเป็นผลไม้อัตลักษณ์ของจังหวัดพังงา ที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่อำเภอกะปง กำลังออกสู่ตลาดเพื่อเสิร์ฟให้กับคนที่ชื่นชอบทุเรียนสาลิกากันแล้ว โดยทุเรียนสาลิกา ของแท้ดั้งเดิม มีลักษณะผลค่อนข้างกลม เปลือกบาง เมล็ดลีบ เนื้อสีเหลืองทองและละเอียด รสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญสาลิกาแท้จากกะปง บริเวณกลางแกนผลมีสีสนิมทุกลูก จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ภายใต้ชื่อ “ทุเรียนสาลิกาพังงา” จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี พ.ศ. 2561
เมื่อเร็วๆนี้นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพังงา นำโดยนายอะหมาน หมัดอะดัม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพังงา และ น.ส.จุฑารัตน์ นิลหัสถ์ รองผู้อำนวยการ ฯ นำสื่อมวลชน จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต เยี่ยมชมสวนทุเรียนสาลิกา ที่เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชิมกันถึงในสวน ภายใต้โครงการจัดเส้นทางท่องเที่ยวทัวร์ผลไม้ ในช่วงฤดูฝนอำเภอกะปง จ.พังงา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลผลิตทุเรียนสาลิกา และมังคุดทิพย์ ผลไม้ออแกนิก ใน จ.พังงา และตอกย้ำความอร่อยของผลไม้ใน อ.กะปง ที่ได้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ Geographical Indications (GI) และปัจจุบันสวนผลไม้ในพื้นที่ จ.พังงา ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ถึง 20 สวน
วันนี้ เรามีโอกาสไปตะลุยสวนทุเรียนสาลิกา 2 สวนเลยทีเดียว และ ทั้ง 2 สวนไม่ทำให้เราผิดหวัง ทั้งฟินทั้ง อิ่มจุกๆ กันเลยทีเดียว สวนแรกที่เราไป คือ “สวนลุงอำนวย” เมื่อไปถึงพบว่าทางสวนกำลังนำทุเรียนที่เพิ่งตัดสดๆใหม่ มาจัดคัดเกรดทุเรียนเพื่อส่งให้ลูกค้าที่สั่งมาล่วงหน้า และ ขายให้กับลูกค้าที่มาที่สวนโดยตรง เข้าไปถึงสวนอย่างรอช้า เลือกทุเรียนได้เลย บอกกับเจ้าของสวนได้ว่าอยากได้ความสุขขนาดไหน เมื่อได้ทุเรียนในขนาดที่ต้องการแล้ว มือปอกประจำสวนจะปอกให้เราทันที และนั่งทานที่สวนได้แบบสบายๆ
นายวุฒิชัย วัยวัฒน์ ลูกชายลุงอำนวย บอกว่า ปีนี้ทุเรียนสาลิกาของที่สวนเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในแต่ละปีนั้นจะออกไม่ตรงกัน แต่อยู่ในช่วงเดือน เม.ย.และ พ.ค. ของทุกปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและการติดดอก ลูกค้าสามารถเดินทางมาเลือกซื้อและรับประทานที่สวนได้เลย เรามีบริการแกะให้พร้อมรับประทาน
หลังจากนี้ เมื่อผลไม้ชนิดอื่นๆ ออกสู่ตลาด ทางเราจะจัดเป็นบุฟเฟ่ต์ผลไม้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประทานผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภอกะปงหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มังคุดทิพย์พังงา เงาะ และอื่นๆ เพราะอำเภอกะปงขึ้นชื่อเรื่องผลไม้อยู่แล้ว สำหรับทุเรียน สาลิกา สวนลุงอำนวย จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 200 บาท ไปจนถึง 300 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของและน้ำหนักของแต่ละลูก และ รับรองว่าทุกลูกคัดคุณภาพอย่างดี สามารถสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่เพจเฟซบุ๊กสวนลุงอำนวย หรือโทร.081-1887434 ส่งทั่วไทย
สวนต่อไปที่บุกเข้าไปถึงสวน คือ “สวนป้านุชลุงเปีย” ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ รายล้อมไปด้วยต้นทุเรียน มังคุด เงาะ และผลไม้อื่นๆ มีการจัดพื้นที่สำหรับนั่งรับทานทุเรียน หรืออาหารสบายๆ มีบึงน้ำอยู่ตรงกลาง ลมพัดเย็นๆ สวนนี้เป็นสวนสาลิกา ออแกนิก ที่ทางสวนใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากน้ำหมักธรรมชาติแทนสารเคมี
นางบุญสม มีเกิด หรือ ป้านุช เจ้าของสวน สาลิกา เป็นทุเรียนบ้านที่แตกต่างไปจากทุเรียนบ้านตรงที่แกนกลางมีสีสนิมเป็นสีแดง เปลือกบาง เนื้อเยอะ รสชาติหอมหวาน เนื้อละเอียด จึงกลายเป็นที่นิยมของคนที่ชื่นชอบทุเรียน และ ทุเรียนสาลิกาของสวนป้านุชฯ นั้นปลอดสารพิษเพราะเราใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากน้ำหมักธรรมชาติ จึงเป็นทุเรียที่อร่อย และปลอดสารพิษ ปีนี้ออกสู่ตลาดตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และ อีกสักประมาณ 2 สัปดาห์ ผลผลิตก็น่าจะหมดแล้ว
สำหรับคนชื่นชอบทุเรียนสาลิการับรองว่าถ้าได้มารับประทานที่สวนของป้านุชจะไม่ผิดหวัง แม้ว่าราคาจะสูงกิโลกรัมละ 250-300 บาท แต่เมื่อได้ทานแล้วจะรู้ว่าทำไมราคาถึงสูงและจะรู้ว่าคุ้มค่าจริงๆ ทุกลูกถูกคัดสรรมาอย่างดี คุณภาพเต็มร้อย หากเกิดข้อผิดพลาดทุเรียนมีปัญหา ทางสวนรับเคลม เปลี่ยนลูกใหม่ให้ลูกค้าทันที เพื่อให้ลูกค้าประทับใจที่สุด
พิเศษไปกว่านั้น สวนป้านุชยังมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้า นาทีทอง สาลิกา กิโลฯละ 100 บาท หรือ 150 บาท ต้องติดตามผ่านทางเพจสวนป้านุชลุงเปีย และยังส่งขายทั่วไทย ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ทางเพจสวนป้านุชลุงเปียได้เลย
ป้านุช ยังบอกอีกว่า สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทางสวนป้านุชยังมีข้าวเหนียวทุเรียน และหญ้าฉ้องทอด (อาหารท้องถิ่น) ไว้บริการลูกค้าอีกด้วย
ขณะที่ นายอะหมาน มัดอะดัม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพังงา กล่าวว่า ททท.พังงา มีแผนที่จะส่งเสริมผลไม้ใน อ.กะปง ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยเน้นไปที่ “มังคุดทิพย์พังงา” ซึ่งเป็นผลไม้ที่อาจจะล้นตลาดได้ในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมๆกันจำนวนมากๆ ซึ่งในปีหน้าอาจมีโครงการกินทุเรียนแถมมังคุด ซึ่งเป็นผลไม้ที่กินคู่กันได้เป็นอย่างดี โดยมังคุดทิพย์พังงานั้นทางจังหวัดพยายามที่จะผลักดันให้เป็นสินค้า GI อีกตัวหนึ่งต่อจากทุเรียนสาลิกา ซึ่งมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว และมีผิวลาย เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมี เป็นมังคุดออแกนิก
ส่วนทุเรียน สาลิกา นั้น เป็นที่รู้จักในตลาดแล้วและเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบทุเรียนอีกด้วย ขณะนี้ได้มีการนำทุเรียนสาลิกามาทำเป็นเมนูพิชช่า ในโรงแรมบ้านเขาหลัก รีสอร์ท ซึ่งเป็นเมนูที่น่าสนใจมาก และจะมีการส่งเสริมในการทำเมนูใหม่ๆที่มีส่วนผสมของทุเรียนสาลิกาต่อไปในอนาคต สำหรับแผนต่อไปคือ การประชาสัมพันธ์ทุเรียนบ้าน ซึ่งมีรสชาติอร่อยเช่นเดียวกัน โดย ททท.จะรวบรวมสวนใหญ่ๆ ต่อไป
- อบจ.ภูเก็ต สำรวจพื้นที่เพื่อปรับวางท่อระบายน้ำชั่วคราว แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในชุมชนบ...
- อบจ.ภูเก็ต ผุด “ศูนย์ฟอกเลือดด้วยไตเทียม” ขนาด 37 เตียง รองรับผู้ป่วย ไม่ต้องรอค...
- ได้นั่งแน่ รถบัส EV ของอบจ.ภูเก็ต ทดแทน รถโพถ้อง สีชมพู...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีเปิดประติมากรรม ศิลปะร่วมสมัย “ไอ้จุด” Lovel...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “สมุดภาพภูเก็ต”...
- อบจ.ภูเก็ต นำเครื่องจักรปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานหิน (ภัตตาคารวังปลาเดิม)...
- November 2024 (19)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)