โรงแรมภูเก็ตยื้อไม่ไหว ปิดแล้วกว่า 50 แห่ง นทท.เข้าพักเป็น 0  แนวโน้มปิดอีกเพียบ วอนรัฐช่วยพนักงานด่วน

โพสเมื่อ : Saturday, March 28th, 2020 : 7.57 pm

โรงแรมภูเก็ตยื้อไม่ไหว ปิดตัวแล้วกว่า 50 แห่ง  นักท่องเที่ยวเหลือ 0 ไร้เงายอดจองใหม่เข้า ที่เหลือให้เห็นเป็นเพียงคนที่ตกค้าง ขณะที่ พนักงานเดือดร้อนไม่ต่ำกว่า 3 พันคน วอนรัฐหามาตรการช่วยเหลือพนักงาน – โรงแรม ด่วน

นายก้องศักดิ์ คู่พงศกร นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ กล่าวถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19  ซึ่งยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวได้ส่งผลกระทบไปทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะภาคการบริการและการท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้เกิดสภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสานการบิน ธุรกิจนำเที่ยว ร้านอาหาร สปา เป็นต้น แต่จากมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านแรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และผู้ประกอบอาชีพอิสระจากสถานการณ์ดังกล่าวนั้น ยังไม่ครอบคลุมในส่วนของธุรกิจโรงแรม

ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือแรงงานในกลุ่มของโรงแรม ที่พัก ที่ได้รับความเดือดร้อน ทางสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อขอให้มีการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด -19 เพราะการเยียวยาครอบคลุมเฉพาะธุรกิจที่รัฐสั่งให้ปิดกิจการ ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมแม้ได้ได้สั่งปิด แต่หลายแห่งก็มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือ

ขณะนี้โรงแรมบางส่วนได้มีการปิดตัวชั่วคราวไปแล้วกว่า 50  แห่ง ซึ่งเป็นโรงแรมขนาดกลางขึ้นไป โดยมีระยะเวลาปิดที่แตกต่างกันไป บางรายปิด 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน แตกต่างกันไป และคิดว่าหลังจากนี้จะมีผู้ประกอบการโรงแรมปิดชั่วคราวไม่น้อยกว่า 40 % ของจำนวนโรงแรมที่มีทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดเป็นการปิดตัวชั่วคราวไม่มีการจ้างพนักงานออกทำให้พนักงานที่ยังมีชื่อเป็นพนักงานโรงแรมไม่สามารถที่จะรับการช่วยเหลือจากประกันสังคมได้เลย ส่วนเงินเดือนที่โรงแรมจะจ่ายให้พนักงานก็ยังไม่มี ทำให้พนักงานโรงแรมที่ประกาศปิดตัวชั่วคราวได้รับความเดือดร้อน จึงอยากให้ทางรัฐบาลเข้ามาดูแลในจุดนี้ และช่วยจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานโรงแรมในลักษณะเดียวกับคนว่างงาน เพื่อให้เขาสามารถดำรงชีพอยู่ได้

นายก้องศักดิ์ กล่าวต่อไปว่าถึงเวลานี้อยากให้รัฐบาลหันมาเหลียวแลโรงแรมที่ต้องปิดตัวชั่วคราวเพราะได้รับผลกระทบจากโควิดระบาด เนื่องจากขณะนี้ทุกโรงแรมอยู่ในภาวะที่ขาดทุนมาก  เงินที่ช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องที่ให้มากู้ยืมปัจจุบันกู้มาก็มาช่วยค่าจ้างให้กับพนักงานทั้งหมด ตอนนี้ผู้ประกอบการโรงแรมยังไม่รู้อนาคตตัวเองเลยว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะผ่านไปแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเปิดให้บริการได้มากน้อยแค่ใหน

 

สำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบคิดว่ามีไม่ต่ำกว่า 3 พันคน จำนวนห้องพักที่ปิดไปมีไม่น้อยกว่า 5,000 ห้อง ซึ่งในส่วนนี้เป็นโรงแรมขนาดกลางที่เป็นสมาชิกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ ส่วนโรงแรมที่ยังไม่เป็นสมาชิกเชื่อว่าได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่วนโรงแรมขนาดเล็กก็มีการปิดตัวไปแล้วไม่น้อยกว่า 30 %

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เราได้ทำไปแล้ว คือการให้พนักงานลาหยุด โดยการค่าจ้างน้อยลง 25 % รวมทั้งเรื่องของการใช้วันลาสะสม มาใช้ ซึ่งเริ่มดำเนินการประมาณเดือนมีนาคม ซึ่งหลังจากนี้ก็คงจะต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไป ถ้านักท่องเที่ยวยังไม่มา สถานการณ์ไม่ดีขึ้นก็คงจะต้องปิดกิจการชั่วคราว อีกหลายโรงแรม

ส่วนสถานการณ์การท่องเที่ยวในขณะนี้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 0 %  ส่วนนักท่องเที่ยวที่ยังเห็นอยู่ในขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่ตกค้าง และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาและ มีวันพักยาว เพราะจากตัวเลขที่ท่าอากาศยานพบว่าไม่ไม่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาแล้ว ส่วนที่มีเดินทางเข้ามาก็น่าจะเป็นคนในท้องถิ่นมากกว่า และเชื่อว่าหลังจากนี้จะไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มอย่างแน่นอน ซึ่งอัตราการจองห้องพัก เม.ย. – พ.ค.ไม่มียอดจองเข้ามาเลย

นายก้องศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 35 กรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ถูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน” ดังนั้นในกรณีที่รัฐบาลไม่ได้ประกาศให้ปิดสถานประกอบการโรงแรม จึงมิใช่เหตุสุดวิสัยนายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเลย

ทางผู้ประกอบการคาดว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค-19 จะส่งผลกระพบต่อธุรกิจท่องเที่ยว เป็นระยะเวลานานเกินกว่า 6 เดือน นักท่องเที่ยวจึงจะเริ่มเดินทางกลับมาท่องเที่ยวได้บ้าง แต่ในห้วงเวลานั้น นายจ้างไม่มีรายได้มากพอที่จะดำเนินการตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานได้ ถึงแม้จะมี แหล่งเงินกู้เข้ามาสนับสนุนก็เพียงแค่บรรเทาได้ชั่วคราว ขณะเดียวกันก็เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ทางผู้ประกอบการ จะต้องแบกรับในระยะยาวอีกเช่นกัน

ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการโรงแรมที่ประสงค์จะหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวลงทะเบียน เพื่อให้ลูกจ้างที่นายจ้างไม่ให้ทำงานสามารถที่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เช่น เดียวกับกรณีเหตุสุดวิสัยที่ภาครัฐได้สั่งปิดกิจการเป็นการชั่วคราวในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 180 วัน ประการที่ 2  กรณีที่สถานประกอบการ ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่หรือหยุดดำเนินกิจการบางส่วน แต่มีความจำเป็นต้องมีพนักงานบางตำแหน่งสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาดูแลความปลอดภัย ซ่อมแซมหรือให้บริการลูกค้าในบางแผนก เช่น แผนกวิศวกรรม แผนกการตลาด แผนกจองห้องพัก เป็นต้นเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายนายจ้างส่วนใหญ่ได้ตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานบางวันโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without

Pay) หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน (No Work No Pay) หรือให้หยุดงาน โดยจ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงกับลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่หยุดงานนั้น ทำให้ลูกจ้างบางคนบางตำแหน่งอาจจะได้รับค่าจ้างน้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติ เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างในกลุ่มดังกล่าว

จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาหามาตรการเยียวยาด้วยเช่นกัน อาจเปิดให้ดำเนินการลงทะเบียนและช่วยเหลือชดเชยค่าจ้างในส่วนที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 เป็นการเฉพาะรายเป็นระยะเวลา 180 วัน เนื่องจาก ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าโลกมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2562 จนทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง โดยผู้ประกอบการเองได้พยายามอย่างสุดความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้บริการเละพนักงานมากนัก เพื่อให้สถานประกอบการยังคงดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง มาวันนี้สถานประกอบการที่ยังพยายามดำเนิน กิจการอยู่ไม่ต้องการที่จะปิดตัวลงหรือเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากกลับไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามข้อเสนอนี้หรือมีมาตรการเพิ่มเติมมาดูแล เชื่อว่าผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องล้มละลายไปเป็นจำนวนมาก เพิ่มภาระให้กับกองทุนประกันสังคม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประทศเป็นอย่างยิ่ง ยากที่จะทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมาเป็นเสาหลักในการสร้างเม็ดเงินและกระจายรายได้ให้แก่ประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ นายก้องศัก