โชว์ “รองเง็ง” สะท้อนรากเหง้าวัฒนธรรมแห่งชาติพันธุ์อันดามัน

โพสเมื่อ : Tuesday, July 19th, 2016 : 11.09 am

ม.ราชภัฏภูเก็ตสาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ชาติพันธุ์อันดามัน”

fe02bf45-fe25-4f6d-816b-2086f44d4bf1

เมื่อเร็วๆนี้ สาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ชาติพันธุ์อันดามัน” โดยมี ผศ.ดร.ธวัชชัย ทุมทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ เป็นประธานเปิด ร่วมด้วย รศ.ดร.สาวิตร พงศ์วัชร์ ประธานสาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง ผศ.ปนัดดา ธนสถิต ตลอดจน บุคลากรสายวิชาการ ครูนาฏศิลป์ จากจังหวัดฝั่งอันดามัน นักศึกษา และชาติพันธุ์ชาวเลอุรักลาโว้ย แหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ จ.ภูเก็ต เข้าร่วม ณ โรงละครนาฏศิลป์ ม.ราชภัฏภูเก็ต โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ปนัดดา ธนสถิต อธิการบดีสถาบันกันตนา และ นางจิ้ว ประโมงกิจ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ราชินีรองเง็งแห่งอันดามัน เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้

e6ceff56-7a5f-42e1-bbd9-620890b00f7e

พร้อมสาธิตการแสดงสำหรับหัวข้อในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยการเสวนาเกี่ยวกับชาติพันธุ์อันดามัน เรื่อง “สังคม วัฒนธรรม วิถีชิวิต และทัศนคติของกลุ่มชาวเลในประเพณีลอยเรือ การแสดงรองเง็ง ภูมิปัญญาด้านศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้” โดย นางจิ้ว ประโมงกิจ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง  “การบรรยายเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารจัดการละคร งานอีเว้นท์ ศิลปวัฒนธรรมอาเซียน และการผลิตสื่อชั้นสูง”โดย ผศ.ปนัดดา ธนสถิต อธิการบดี สถาบันกันตนา และการบรรยาย เรื่อง “การสร้างสรรค์ชุดการแสดงชาติพันธุ์ชาวเลในประเพณีลอยเรือ และการออกแบบชุดการแสดง ระบำเภตราก่าบาง” โดย รศ.ดร.สาวิตร พงศ์วัชร์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชาติพันธุ์ชาวเล

786bc6af-7a03-4194-8f30-cde38546a126

รศ.ดร.สาวิตร พงศ์วัชร์ กล่าวว่า “ผู้ที่ศึกษาและทำอาชีพด้านศิลปะการจัดการแสดงรองเง็งในฝั่งอันดามัน ล้วนได้รับอิทธิพลจากการแสดงของแม่จิ้ว อัจฉริยะด้านการแสดง และคณะรองเง็งชาวเลผู้ซึ่งสร้างสรรค์บทเพลง การแสดง และพิธีกรรม ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์อันเด่นชัดของชาติพันธุ์ชาวเลอันดามันได้อย่างน่ายกย่อง และเป็นที่กล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่นความสละสลวยของเนื้อเพลง ทำนองที่ไพเราะ และท่วงท่าร่ายรำรองเง็ง ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการว่าเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นระดับสากล และ สะท้อนถึงความเป็นอันดามันได้อย่างเด่นชัด ทั้งนี้เชื่อว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของแม่จิ้ว และการแสดงจากคณะรองเง็ง นำไปสู่การคิดค้นศิลปะการแสดงที่มีความเป็นอันดามันอย่างแท้จริง

64a8e458-538d-46e6-9421-d2f82f6bc742

นอกจากนั้นยังได้สอดแทรกสาระความรู้ด้านการสร้างสรรค์ชุดการแสดง และแนะแนวทางการศึกษาต่อแก่ผู้ที่ต้องการมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งศิลปะการแสดงยุคใหม่ โดย สถาบันชั้นนำของประเทศอย่าง กันตนาการจัดกิจกรรมของ ม.ราชภัฏภูเก็ต ในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งมันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้งในมิติทางวิชาการ และสังคมเชิดชูชาติพันธุ์ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชาวอันดามัน และประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงถึงศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของอันดามัน”