แบบปรับปรุงพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก เป็นแหล่งเรียนรู้-ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสวนสาธารณะ
โพสเมื่อ : Saturday, September 21st, 2024 : 3.53 pm
อบจ.ภูเก็ต จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาออกแบบพัฒนาและปรับปรุงพื้นเกือบ 100 ไร่ บริเวณอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ต.เทพกระษัตรี ที่ถูกปล่อยรกร้างให้ประโยชน์จัดงานสดุดีผู้กล้าเมืองถลางปีละครั้ง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสนุทรและสวนสาธารณะแห่งใหม่ของภูเก็ตเพื่อให้ชาวถลางและภูเก็ตใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายตลอดทั้งปี
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) ร่วมกับ บริษัท สถานปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด จัด ประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบพัฒนาพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก โดยมีนายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิด และมี คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบจ.ภูเก็ต หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมอังศนาบอลรูม โรงแรมอังสนา ลากูน่า ภูเก็ต ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567
เพื่อประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการจ้างออกแบบพัฒนาพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ซึ่งอบจ.ภูเก็ต มีโครงการที่จะพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง เนื้อที่ประมาณ 99 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งปี เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ที่น้อยมาก ใช้แค่การจัดงานสดุดีท้าวเทพกระกษัตรีท้าวศรีสุนทร ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
อบจ.ภูเก็ต จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาออกแบบโครงการออกแบบพัฒนาพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก และได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำความต้องการของประชาชนในพื้นที่ไปปรับปรุงแบบให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด
สำหรับโครงการออกแบบพัฒนาพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึกนั้น บริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบภายใต้แนวคิดสวนที่เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ผ่านสถานการณ์ปัจจุบันและสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองในอนาคต โดยออกแบบพื้นที่ทั้งหมด ให้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัตศาสตร์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ทางสังคม ทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีทั้ง พิพิธภัณฑ์เรื่องราวประวัติศาสตร์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรและผู้กล้าเมืองถลาง ทั้งภายในอาคารและเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอก ลานวัฒนธรรม ตลาดวัฒนธรรม ลานจัดงานแสงสีเสียง อัฒจันทร์กลางแจ้ง ที่นั่งพักผ่อนริมน้ำ รวมไปถึงสวนสาธารณะ เป็นปอดของประชาชนในพื้นที่ถลาง ที่ออกแบบให้มีทางเดินยกระดับ ทางเดินลอยฟ้า ลานออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานออกกำลังกายกลางแจ้ง เป็นต้น
รวมทั้งต้องการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของภูเก็ต โดยใช้บริเวณนี้เป็นจุดเริ่มต้น ก่อนที่จะไปต่อยังจุดประวัตศาสตร์อื่นๆ เช่น บ้านย่ามุกย่าจัน เป็นต้น นอกจากนี้ จัดกิจกรรมที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่สร้างรายได้ในการจัดการดูแลพื้นที่อย่างยั่งยืน
โดยการออกแบบนั้น เน้นการใช้ประโชยน์ของพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถใช้ได้ทั้ง 360 วัน รวมไปถึงการเป็นพื้นที่รับน้ำในช่วงหน้าฝนและมีน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง และใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง สิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงอนุรักษ์ต้นไม้พื้นถิ่นทั้งหมด เป็นต้น
- เปิดแล้ว “Chic Republic” สาขา ภูเก็ต ว้าวมาก!! ตอบโจทย์ ทุกไลฟ์สไต...
- พุ่งไม่หยุดอสังหาฯภูเก็ต ผุดอีกโครงการ “Infinity Life Club” คอมมูนิตี้รองรับคนวั...
- “Nakara Grand Luxury Villas” รับรางวัล Best Boutique Villa Developme...
- รพ.อบจ.ภูเก็ต จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรม “ยิ้มสวยฟันสะอาด”...
- รพ.สต.ศรีสุนทร สังกัด อบจ.ภูเก็ต รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก...
- อบจ.ภูเก็ต ติดตามการดำเนินงานปรับปรุงถนนทางขึ้น “ผาหินดำ”...
- December 2024 (17)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)