แก้ปัญหาชาวเลราไวย์ กมธ.เห็นด้วยเยียวยาเจ้าของที่ดินนำกลับมาเป็นของรัฐจัดให้ไทยใหม่

โพสเมื่อ : Friday, July 29th, 2016 : 1.44 pm

IMG_5833

ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พร้อมคณะลงภูเก็ต ระบุเห็นด้วยมาตรการแก้ปัฐหาโดยการซื้อคืน หรือ เยียวยาให้เจ้าของที่ดินกว่า 20 กว่าไร่ เพื่อนำกลับมาเป็นของรัฐก่อนจัดให้ไทยใหม่อยู่อาศัยต่อ ขณะที่การตรวจสอบตรวจสอบการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิ์ก็ยังต้องดำเนินการต่อ ส่วนปัญหาข้อพิพาทชาวไทยใหม่ กับ บริษัท บารอน ยังไมจบ ศาลนัดไถ่สวนคดีชาวไทยใหม่ยื่นขอคุ้มครอง 15 ส.ค.นี้

191902

www.pic-phuket.com สอบถามเพิ่มเติม 076217199,0865092424

วันนี้ ( 29 ก.ค.คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ นำโดยนายอโณทัย ฤทธิ์ปัญญาวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ นายอำพล จินดาวัฒนะ รองประธาน ฯ พลเอกปราการ ชลยุทธ์ กรรมการและที่ปรึกษา พร้อมด้วยคณะ ร่วมประชุมกับนายประเจียด อักษรธรรมกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมทั้ง นางปรีดา คงแป้น ตัวแทนจากอนุกรรมการสิทธิชุมชนเข้มแข็ง นายชาตรี หมาดสตูล ตัวแทนจากบริษัทมารอน ที่ห้องประชุมศาลากลางหลังใหม่ จ.ภูเก็ต เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นรวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาชาวไทยใหม่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะกรณีข้อพิพาทเรื่องที่อยู่อาศัยกับเจ้าของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ และกรณีข้อพิพาทเรื่องชายหาและทางเดินกับทางบริษัทบารอน

IMG_5879

นายประเจียด อังษรธรรมกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวชี้แจงถึงปัญหาของชาวไทยใหม่ราไวย์ ว่า  ในส่วนของชาวไทยใหม่ราไวย์ นั้นมีการตั้งชุมชนอยู่บนที่ดินของเอกชน ขณะนี้กำลังมีการฟ้องร้องกันอยู่หลายราย ซึ่งนอกจากปัญหาเรื่องที่ดินแล้วยังมีปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากทั้งเรื่องน้ำ เรื่องไฟฟ้า ที่ต้องจ่ายในราคาสูงกว่าที่อื่น ซึ่งชาวไทยใหม่ในพื้นที่ต้องการสิทธิในที่ดินที่อยู่อาศัย ต้องการไฟฟ้า ต้องการระบบประปาระบบสาธารณูปโภค และปัญหาอื่นๆอีกหลายอย่าง แต่ปัญหาต่างที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องที่ดิน ซึ่งเรื่องนี้ทางจังหวัดได้ทำยื่นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชาวไทยใหม่ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยวางแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้ 2 แนวทาง

IMG_5964

คือในส่วนของการตั้งชุมชนของชาวไทยใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ของบุคคลอื่น จำนวน 20 ไร่เศษ จากการประชุมหารือกันมาหลายทางเจ้าของยินดีที่จะขายที่ดินดังกล่าวให้กับทางภาครัฐเพื่อนำไปบริหารจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับทางชาวไทยใหม่ ซึ่งทางจังหวัดได้ทำโครงการเสนอไปแล้ว ในส่วนของที่ดินราคาประมาณอยู่ที่ 90 กว่าล้านบาท แต่ถ้าทำทั้งโครงการรวมในเรื่องขอสาธารณูปโภค เรื่องที่อยู่อาศัยเข้าไปด้วยจะต้องใช้งบประมาณจำนวน 250 กว่าล้าน

IMG_5859

สำหรับแนวทางนี้ในเบื้องต้นเจ้าของที่ดินยินดีที่จะขายให้กับทางภาครัฐ ซึ่งถ้าทำได้ปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องน้ำ ไฟ เรื่องของคุณภาพชีวิตก็จะได้รับการแก้ไขทันทีภายใน 6 เดือน หรือ 1 ปี ส่วนกรณีมีการตรวจสอบข้อมูลการได้ซึ่งเอกสารสิทธิ์นั้นก็ดำเนินการไปตามกฏหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ แต่ถ้าไม่ทำในรูปแบบของคู่ขนานเชื่อว่าอีก 10 ปี ปัญหาของชาวไทยใหม่ก็จะยังไม่ได้รับการแก้ไข เพราะปัญหาทุกอย่างจะมีความเกี่ยวพันไปกับเรื่องที่ดินทั้งหมด

IMG_5845

ส่วนแนวทางที่ 2 ในการแก้ไขปัญหา ทางจังหวัดจัดพื้นที่จำนวน 50 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองชีเหล้า – คลองท่าจีน ต.รัษฎา อ.เมือง ซึ่งอยู่ห่างจากราไวย์ ประมาณ 20 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเลบ้านแหลมตุ๊กแกประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อรองรับกลุ่มชาวไทยใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดได้ทำแปลนข้อมูลไว้แล้วแต่ปรากฏว่าชาวเลไม่ต้องการที่จะย้ายจากที่อยู่เดิม เพราะขัดกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ส่วนกรณีการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทของชาวไทยใหม่กับทางบริษัทบารอน ในเรื่องของพื้นที่ชายหาดสำหรับประกอบอาชีพ และเรื่องของทางเดินเพื่อไปประกอบพิธีที่บาลัย นั้นที่ผ่านมาได้มีการหารือกันมาหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อยุติของการแก้ปัญหา

ใช้โฆษณา

www.pic-phuket.com สนใจร่วมฟังสัมมนา จองบัตรล่วงหน้า 076217199,0865092424

ขณะที่นางปรีดา คงแป้น ตัวแทนจากอนุกรรมการสิทธิชุมชนเข้มแข็ง กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของทางจังหวัดในการที่จะเอาที่ดินดังกล่าวกลับมาเป็นของรัฐก่อนจะเป็นวิธีการซื้อหรือเยียวยาก็ตามเพื่อให้ชาวไทยใหม่ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งขณะนี้ชาวไทยใหม่ถูกฟ้องรองอยู่หลายราย บางรายศาลตัดสินไปแล้ว บางรายอยู่ระหว่างการไถ่สวน ส่วนเรื่องของการสืบค้นข้อมูลการออกเอกสารสิทธิว่าได้มาอย่างไร ก็ดำเนินการต่อไปเพราะมีหน่วยงานที่เข้ามาดุแลอยู่แล้ว ส่วนการย้ายชาวเลไปอยู่ที่อื่นเป็นไปไม่ได้ ที่ผ่านมาชาวเลไม่เคยมีปัญหากับใครแต่ที่ต้องออกมาขณะนี้ก็เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองโดยเฉพาะเรื่องของหาดสาธารณะและเรื่องทางเดินไปประกอบพิธีที่บาลัยจนกลายเป็นข้อพิพาทกับทางบริษัทบารอนอยู่ในขณะนี้ สำหรับในส่วนของทางบริษัทบารอนนั้นวันที่ 15 ส.ค. นี้ศาลจังหวัดภูเก็ตนัดไถ่สวนคดีชาวไทยใหม่ร้องศาลคุ้มครอง ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ต้องรอต่อไป

IMG_5949

ด้านนายชาตรี หมาดสตูล ตัวแทนจากบริษัทบารอน กล่าวว่า ในส่วนของที่ดินของบริษัทฯ จำนวน 30 ไร่ ซึ่งซื้อต่อมาเป็นมือที่ 3 ในราคา 300 กว่าล้านบาท ขณะนี้ยังไม่มีชาวบ้านไทยใหม่บุกรุกเข้าไปอาศัย เพียงแต่ที่ผ่านมาทางบริษัทต้องการที่จะพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิ์ของทางบริษัทเท่านั้นแต่ได้รับการขัดขวางมาโดยตลอด จนถึงขณะนี้รถแบคโฮที่เอาเข้าไปทำงานยังไม่สามารถนำออกมาได้เลย ส่วนเรื่องของชายหาสาธารณะนั้นทางบริษัทไม่เกี่ยวข้อง แต่เรื่องทางเดินที่ทางชาวเลอ้างว่าเป็นทางเดินสาธารณะทางบริษัทมีหลังฐานยืนยันชัดว่าไม่ใช่ จนถึงขณะนี้ทางบริษัทก็ยังไม่สามารถที่จะทำงานได้

IMG_5931

อย่างไรก็ตามหลังการประชุม นายอโณทัย ฤทธิ์ปัญญาวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีปัญหาชาวไทยใหม่ในพื้นที่ภาคใต้  ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นปัญหาระดับประเทศที่จะต้องร่วมกันแก้ไข ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็ให้ความสำคัญกับทั้ง 2 ฝ่ายทั้งในส่วนของชาวไทยใหม่ ในส่วนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปที่จังหวัดพังงามาแล้ว  ซึ่งก่อนมาแล้ว สำหรับวันนี้เป็นการมารับฟังปัญหาในส่วนของจังหวัดภูเก็ต

IMG_5865

จากการรับฟังข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตนเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินที่มีเอกสารสิทธิซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวไทยใหม่ว่ารัฐควรจะเข้าไปเยียวยาในจุดนี้โดยจ่ายเงินให้กับเจ้าของเอกสารสิทธิ์เพราะเอกสารสิทธิ์บางรายชื้อต่อและมีการเปลี่ยนมือกันมาหลายรายแล้ว การที่จะรอให้มีการตรวจสอบเรื่องการออกเอกสารสิทธิ์เรื่องที่ดินคิดว่าคงจะต้องใช้เวลานานซึ่งอาจจะไม่ทันการแต่ก็ต้องดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่งเรื่องนี้เคยนำเสนอที่ประชุมคระกรรมาธิการไปแล้วทางกรรมาธิการก็เห็นด้วยเพียงแต่การลงครั้งนี้เพื่อมาเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในบางประเด็นและลงตรวจสอบพื้นที่จริงเท่านั้น หลังจากนี้ก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของฝ่ายต่างๆต่อไป ส่วนกรณีของทางบารอน ก็คงจะต้องมีการพุดคุยกันอีกเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด