“เรื่องเที่ยว… เรื่องกิน”ตอน 2.“เว้ เมืองมรดกโลก”
โพสเมื่อ : Monday, July 18th, 2016 : 11.29 pm
“เรื่องเที่ยว… เรื่องกิน”.
“เรื่องเที่ยว… เรื่องกิน”.ถิ่นเวียดนาม ตอนที่ 2 “เว้ เมืองมรดกโลก”
โดย ภูริต มาศวงศ์ศา
หลังจากพาไปเที่ยวเมือง ลาง โค่ ของเวียดนามมาแล้วหลายเมือง ถึงเวลาที่จะต้องเดินทางต่อจาก ลางโค่ เมืองตากอากาศระดับ “พรีเมี่ยม” ซึ่งเป็นที่ตั้งของ อังสนา ลากูน่า และสนามกอล์ฟลากูน่า กอล์ฟ คลับ ซึ่งออกแบบโดย นิค ฟัลโด้ อดีตนักกอล์ฟมือหนึ่งของโลกเพื่อเดินทางต่อ ยังเมืองเหว (Hue) หรือที่คนไทยเรียก ว่า เว้ ซึ่งเป็นเมืองมรดกโลกแห่งหนึ่งของเวียดนามและเป็นสถานที่ตั้งของพระราชวังโบราณ ที่จักรพรรดิองค์สุดท้ายได้มีโอกาสใช้เป็นที่ประทับก่อนจะถูกทิ้งร้างไปหลายสิบปี
ทะเลสาบน้ำจืดระหว่างทางไปเมืองเว้
และรัฐบาลปัจจุบันได้นำกลับมาบูรณปฏิสังขรณ์เสียใหม่จนได้รับการบรรจุเป็นมรดกโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนให้เมืองเว้เป็นมรดกโลกสองครั้ง ด้วยกัน คือ 1. ทางโบราณคดีเมื่อวันที่ 11ธันวาคม พ.ศ. 2536 และ 2. ทางศิลปวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ทัศนียภาพของหมู่บ้านในชนบทของเวียดนาม
เมืองเหว หรือ เมืองเว้ อยู่ในเขตจังหวัดเถื่อเทียนเหว (Thua Thien Hue) เป็นจังหวัดที่อยู่ตอนบนของเวียดนามภาคกลาง โดยทางทิศตะวันตกจะติดกับแนวชายแดนของประเทศลาวและทางทิศตะวันออกก็จะติดกับทะเลจีนใต้ เมืองเว้ อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางทิศเหนือประมาณ 660 กิโลเมตรและนครโฮจิมินห์ไปทางทิศใต้ประมาณ 1080 กิโลเมตร เฉพาะตัวเมืองเว้ มีเนื้อที่ราว 70 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดทะเลยาวโดยประมาณ 120 กิโลเมตร เดิมนั้น เมืองเหวเป็นอาณาเขตตอนบนของอาณาจักรจาม แต่มาถึงปี ค.ศ 1306 ได้ตกมาอยู่ในเขตมณฑลถ่วนหวา (Thuan Hoa) ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดกว่างตรี่ (Quang Tri) จังหวัดเถื่อเทียนเหว และส่วนพื้นที่ตอนบนของจังหวัดกว่างนาม (Quang Nam) เมืองเว้ มีระยะทางห่างจากเมืองดานัง 102 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 15 นาที จากดานัง (ข้อมูลจาก: http:// aseannotes.Blogspot.com)
แม่น้ำเหือง ในภาษาเวียดนาม หรือ แม่น้ำหอม ในภาษาไทย
เส้นทางระหว่าง ลางโค่ ไปถึงเมืองเว้ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง ผ่านภูเขาและทะเลสาบน้ำจืดซึ่งมีภูมิประเทศที่สวยงาม เราแวะรับประทานอาหารกลางวันกันระหว่างทางที่เมืองเล็กๆเมืองหนึ่ง เป็นร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วยอาหารพื้นบ้านที่ดูหน้าตาแปลกๆ แต่ก็อร่อยดีครับ หรือจะเป็นเพราะเราหิวก็อาจจะเป็นไปได้เหมือนกัน
ห้องพักที่ Le Residence Sofitel Hotel, Hue
หลังจากอิ่มหนำสำราญกันดีแล้วเราก็เดินทางต่อไปยังเมืองเว้ โดยมีจุดหมายอยู่ที่พระราชวังเว้ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำหอม โดยที่ เมืองเว้ เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศเวียดนามในสมัยราชวงศ์เหงียน ช่วงปี พ.ศ. 2345 – 2488 ก่อนที่จะมีการแยกประเทศ สถาปนาขึ้นโดยจักรพรรดิยาลอง องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เหงียน แต่เดิมเมืองเว้ เป็นเมืองเล็กๆในความปกครองของ ขุนนางเหงียนฮวาง ในแผ่นดินราชวงศ์เล ต่อมาเกิดสงครามแบ่งแยกดินแดน ทางตอนเหนือตกไปอยู่ในปกครองของ ขุนนางตริงห์
ส่วนตอนใต้อยู่ในอำนาจขุนนางเหงียน เมื่อเกิดกบฏ เหงียนฮวาง หรือที่ไทยรู้จักในนาม องเชียงสือ ผู้ปกครองเวียดนามใต้ขณะนั้น ก็ได้ลี้ภัยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก่อนที่จะกลับไปปราบกบฏลงราบคาบใน พ.ศ. 2345 แล้วรวบรวมดินแดนเหนือและใต้เข้าไว้ด้วยกัน เรียกชื่อเสียใหม่ว่า เวียดนาม พร้อมสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิยาลองแห่งราชวงศ์เหงียน ครองเมืองเว้เป็นราชธานี ต่อมา ฝรั่งเศสบุกเข้าโจมตีเมืองเว้ ตามด้วยการยึดครองของญี่ปุ่นในช่วงมหาสงครามเอเชียบูรพา พ.ศ.2488 และในปีเดียวกันนั้นเอง พระเจ้าเบ๋าได๋ สละราชสมบัติ เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์เหงียน เมืองเหวจึงถูกลดฐานะจากราชธานีกลายเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามใต้ตามการแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน ก่อนเสื่อมสลายลงภายใต้การปกครองของรัฐบาลโงดินห์เดียม
พระราชวังเว้ เมืองมรดกโลก
ตัวเมืองเว้ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับอาณาเขตระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โบราณสถานหลายแห่งถูกทำลาย ต่อมา เริ่มมีการบูรณะโบราณสถาน จึงเผยให้เห็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของนครจักรพรรดิ ทั้งพระราชวัง สุสานจักรพรรดิ ป้อมปราการ และนานาสิ่งก่อสร้างแบบฉบับเฉพาะอันทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม รวมถึงสายแม่น้ำหอมที่หล่อเลี้ยงเมืองมาเนิ่นนาน ทำให้ปัจจุบันเว้ กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเวียดนาม
ป้อมเชิงเทิน ประตูทางเข้าพระราชวัง
สำหรับการบริหารจัดการในการเข้าชมพระราชวังโบราณมีการจัดการที่ถือว่าดีมาก เพราะเริ่มต้นจากการที่ทุกคนต้องลงที่จุดจอดรถ ซื้อตั๋วเข้าชมพร้อมรถกอล์ฟคาร์ท 9 ที่นั่ง ถ้าใครไม่นั่งรถที่มีให้บริการรับส่งตามจุดเข้าชมต่างๆ ก็สามารถเดินชมได้ เค้าห้ามรถทีมีเครื่องยนต์ทุกชนิดเข้าไปในเขตพระราชฐานและจะต้องมีไก๊ด์ท้องถิ่นตัดบันตรแสดงตนเป็นผู้นำชม (ข้อมูลจาก: http:// aseannotes.blogspot.com/2014/07/1.html:04.07.2016)
ทางเดินสู่ป้อมเชิงเทิน
หลังจากท่องเที่ยวกันอย่างเต็มอิ่มกับพระราชวังเว้ มรดกโลกอันสวยงามแล้ว คณะของเราก็เดินทางเข้าที่พัก ณ Le Residence ซึ่งในอดีตเคยเป็นสถานทูตฝรั่งเศสและได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นโรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว โรงแรมแห่งนี้มีโอกาสต้อนรับแขกวีไอพีในระดับนานาชาติมาแล้วหลายครั้งหลายหน ห้องพักตกแต่งในสไตล์ฝรั่งเศส และมีบรรยากาศออกไปในแนวบูติคสไตล์
ทางเดินเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นใน
สำหรับอาหารค่ำในเย็นวันนี้ ผู้จัดการของโรงแรมเป็นเจ้าภาพในการเลี้ยงอาหารค่ำแบบฝรั่งเศส ห้องอาหารของโรงแรมมีความสวยงามจากการตกแต่งและการใช้ไฟประดับที่ให้แสงอันอบอุ่นและงดงามมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อาหารและไวน์ชั้นดีจะอร่อยแค่ไหนก็ตาม ผม ลุงแดงและนายกเต๋อ ก็ยังแอบเล็ดลอดไปเดินชมทัศนียภาพยามค่ำคืนของแหล่งท่องเที่ยวในเมืองเหว และที่สำคัญ เราสอดส่ายสายตาหาร้านขายอาหารประจำชาติของเวียดนามซึ่งก็คือ “เฝอ” นั่นเอง
ทางเดินผ่านอุทยานหลวง
แต่ก่อนที่จะถึง “เฝอ” เราแวะไปนั่งดื่มชิลๆกันบนดาดฟ้าของบาร์แห่งหนึ่งใกล้ๆถนนคนเดิน ซึ่งเราสามารถมองลงมาเห็นบรรยายกาศยามค่ำคืนของเมืองเว้ ริมแม่น้ำหอมแห่งนี้ได้อย่างชัดเจน ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่นี่สูงมาก สังเกตจากการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินกันอย่างเสรีไม่ได้ระมัดระวังตัวกันเหมือนในเมืองท่องเที่ยวอื่นๆบางแห่ง แต่ที่สำคัญ พนักงานเสิร์ฟที่ร้านสามารถพูดไทยได้ชัดเจน ด้วยภาษาไทยที่ผสมกันทั้งสมัยใหม่และสมัยเก่า ผมถามเธอว่าเคยเรียนที่เมืองไทยหรือ เธอตอบว่าเปล่า แต่เรียนจากโทรทัศน์ในรายการการศึกษาภาษาไทยและละครทีวี พวกเราต่างก็ทึ่งมากกับความสามารถทางการเรียนรู้ของคนเวียดนามในสมัยปัจจุบัน
ประตูทางเข้าตำหนักนางใน
หลังจากสนทนากันพักใหญ่ เราก็เปลี่ยนชื่อเธอจากภาษาเวียดนามที่ออกเสียงยาก เป็นชื่อ “หนิง” ซึ่งเธอดูจะพอใจมาก จากนั้น ประมาณห้าทุ่ม ซึ่งเป็นเวลาที่เธอเลิกงานพอดี หนิง ก็อาสาที่จะพาไปกิน “เฝอ” เจ้าอร่อยในตลาดที่อยู่ไม่ไกลจากบาร์ที่เธอทำงานนัก แต่เธอรับรองด้วยเกียรติของคนเวียดนามว่า “ร้านนี้สุดยอด” จากนั้น เราก็เดินลัดเลาะมาตามถนนแหล่งบันเทิงย่านท่าเรือแม่น้ำหอม ซึ่งเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับถนนคนเดินตรงไปยังร้านเฝอ เมื่อไปถึงก็พบว่าเป็นร้านริมถนนแต่คนเข้าคิวรอกันเต็มไปหมด
ประตูทางเข้ามหาวิหารพระพุทธในพระราชวัง
จังหวะดีที่ หนิง เธอรู้จักกับเจ้าของร้าน รอไม่นานก็ได้โต๊ะและเริ่มสั่งกันมาคนละชาม ตั้งใจว่าจะกินซักสองชามให้สมกับที่อยากกินมานานและหนิงการันตีว่าอร่อย แต่พอเห็นชามที่ยกมาเสิร์ฟก็เปลี่ยนใจครับ เพราะชามเดียวอาจจะกินได้ถึงสองคนเลยล่ะ ชามใหญ่มาก เริ่มต้นก็ต้องลองชิมน้ำซุปก่อน หลับตานึกภาพตามนะครับ ร้อนมากพอสมควร น้ำซุปหอมกลิ่นเนื้อ รสชาติกลมกล่อม ไม่ต้องเติมอะไรอีกเลย เอาล่ะ ทีนี้ก็เพิ่มผักต่างๆลงไป เช่น ใบโหระพา ถั่วงอก ผักชีฝรั่ง ผักแพว พริกสด
ลุงแดงกับน้องหนิง ของพวกเรา
หลังจากนั้นก็ลุยกันเลยครับ ในเวลาสิบนาทีต่อมา “เฝอ” ชามใหญ่ก็หายวับไปกับตา โอย…อร่อยจริงๆครับ สมใจอยาก เรียกเจ้าของร้านมาเก็บเงิน ทั้งหมด 4 ชาม เป็นเงิน 120,000 โด่ง เป็นเงินไทยทั้งสิ้น 200 บาท พอเสร็จสมอารมณ์หมายก็ย้ายพุงเดินออกมา ให้หนิงเรียกแท็กซี่กลับโรงแรม และลุงแดงกับนายกเต๋อ ก็ได้สนับสนุนสินน้ำใจให้กับหนิงไป 1,000 บาท ซึ่งเธอตกใจมาก บอกว่ามันมากสำหรับเธอ เพราะมันเป็นเงินเวียดนาม 600,000 โด่ง เลยทีเดียว นายกเต๋อบอกเธอไปว่า เป็นค่าเรียนภาษาไทย ที่ได้ผลดีมากเพราะสามารถพาคนไทยสามคนมาทาน “เฝอ” อร่อยๆได้สมใจอยาก เราต้องขอบคุณหนิงมากกว่า แล้วเราก็เอ่ยปากลากันและสัญญาว่าเราจะกลับมาเยือนเธอที่ร้านในเร็วๆนี้
ร้านเฝอที่น้องหนิงพาพวกเราสามคนไปรับประทาน
เรานั่งรถแท็กซี่กลับโรงแรมซึ่งอยู่ไม่ไกลมากนัก ประมาณ 10 นาที แล้วก็แยกย้ายกันเข้านอน เพราะพรุ่งนี้ต้องตื่นแต่เช้าไปพบกับความมหัศจรรย์ของ บาน่า ฮิลส์ ภูเขาสูง 1,450 เมตร เราจะขึ้นไปกันอย่างไร ไปพบกับอะไร อดใจรอไว้ตอนหน้า “ดานังกับมังกรข้ามแม่น้ำ” นะครับ
ห้องอาหารโรงแรมเลอ เรสซิเดนซ์ สถานที่จัดเลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะ
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ผมครุ่นคิดตามหลัง ก่อนที่จะหลับตานอน คือ การที่คนเวียดนามสนใจเรียนรู้ภาษาไทย แม้จะผ่านจอทีวี ทั้งจากการดูละคร หรือ เรียนจากการศึกษาทางไกลทางทีวี แต่ผลที่ได้รับกลับมามันน่าทึ่งมากที่ทำให้เค้าพูดและเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี แล้วคนไทยของเราเองล่ะ วันนี้เราพูดภาษาที่สองในอาเซียนกันได้หรือยัง …. ภาษาที่แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านนำมาใช้และเขียนป้ายประกาศติดกันเต็มเมืองแม้แต่ตู้ เอทีเอ็ม ก็ต้องมีภาษานี้ …. ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนเวียดนาม และวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทย ….
- เริ่มแล้ว! งาน “สีสันอันดามัน ครั้งที่ 2“ 31 ต.ค.-3 พ.ย.67 ณ ประตูเมืองภูเก็ต น...
- ภูเก็ตเปิดตัว 5 ชุมชนท่องเที่ยวใหม่ ชูอัตลักษ์ของแต่ละแห่ง พร้อมสร้างเส้นทางท่อง...
- สุขทันที..ที่เที่ยวพังงา ขับรถเที่ยวหน้าฝน “ตะลุยกินผลไม้ถึงสวน”...
- เที่ยวแหลมพรหมเทพ ต้องไม่พลาด ของดีของหรอย กับ งาน “วิถีราไวย์”...
- พร้อมกันแล้วยัง สร้างเมืองให้เป็นสีรุ้ง รับจัดงาน “Discover Phuket Pride 2024 @...
- มุมมหาชน “อควาเรียภูเก็ต”...
- November 2024 (17)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)