เปิดใช้แล้ว ภูเก็ตสมาร์ทบัส” รถบัสโดยสารสาธารณะ เชื่อมสนามบิน – หาดราไวย์
โพสเมื่อ : Wednesday, February 28th, 2018 : 2.53 pm
เปิดใช้แล้ว ! PKCD เปิดตัว “ภูเก็ตสมาร์ทบัส” รถบัสโดย สารสาธารณะ “สายสีฟ้า” เชื่อมสนามบินนานาชาติภูเก็ต – ราไวย์ ทางเลียบหาดสายแรก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถครบครัน ทุก ระบบความปลอดภัย มุ่งแก้ปัญหาจราจร สู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
วันนี้ (28 ก.พ.) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์. ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีเปิดงานเปิดตัว “ภูเก็ตสมาร์ทบัส” รถบัสโดยสารสาธารณะ “สายสีฟ้า” เชื่อมสนามบินนานาชาติภูเก็ตสู่เส้นทางเลียบหาด สมาร์ท ครบครันสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถ ระบบความปลอดภัย มุ่งแก้ปัญหาจราจร สู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยมี นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายก้าน ประชุมพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด ดร.เผด็จ จินดา กรรมการบริษัทฯ นายวัชร จารุอริยานนท์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ภูเก็ตสมาร์ทบัส จำกัด (PKSB) นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย ร่วมงาน
สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นโครงการ ภูเก็ตพัฒนาเมือง (PKCD) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการ จับมือพาร์ทเนอร์ เปิดตัว “ภูเก็ตสมาร์ทบัส” สมาร์ท ด้วยการชำระค่าบริการผ่านบัตรRabbit x Phuket Smartcard ห้อง Control Room ควบคุมเรื่องความปลอดภัย ระบบGPSติดตามรถ อินเตอร์เน็ตไร้สาย(Wifi) ช่องเสียบยูเอสบีทุกที่นั่ง ลิฟต์สำหรับให้บริการผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์ และการวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้อย่างสะดวกสบายผ่าน www.Choop.Me ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ความต้องการของนักเดินทางได้อย่างลงตัว
นายวัชร จารุอริยานนท์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ภูเก็ตสมาร์ทบัส จำกัด(PKSB) กล่าวว่า ” อาชีพดั้งเดิม ของคนภูเก็ต คือ การทำเหมืองแร่ ทำเกษตรกรรม คนและรถยังไม่มีมากนัก แต่ด้วยความสวยงามของเกาะภูเก็ต จึงนำไปสู่เมืองแห่งการท่องเที่ยวระดับโลก จากอัตราการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ผ่านมา นำไปสู่ปัญหาการเดินทาง เนื่องจากยังขาดระบบขนส่งสาธารณะที่เพียงพอ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ
แต่ทุกวันนี้การจราจรในจังหวัดภูเก็ตเป็นปัญหา การเดินทางจากสนามบินเข้าเมือง หรือ เดินทางไปยังชายหาดต่างๆ ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 – 2 ชั่วโมง เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัด เพราะส่วนใหญ่เป็นการเดินทางโดยใช้รถส่วนบุคคลเป็นหลัก หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ปัญหาจราจร นี้จะทำให้เสน่ห์ของภูเก็ตลดลงเรื่อยๆ และส่งผลกระทบกับรายได้จากท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ ภูเก็ตพัฒนาเมือง(PKCD) จึงได้จัดตั้ง บริษัท ภูเก็ตสมาร์ทบัส จำกัด(PKSB) ให้บริการรถบัสขนส่งมวลชน เพื่อมีส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการมีรถบัสโดยสารสาธารณะ “ภูเก็ตสมาร์ทบัส”
ส่วนความสมาร์ทของภูเก็ตสมาร์ทบัส นายวัชร กล่าวต่อว่า “รถที่ทางบริษัท ภูเก็ตสมาร์ทบัส จำกัด (PKSB) นำมาบริการผู้โดยสาร เป็นรถใหม่ทั้งหมด จากเมอร์เซเดส เบนซ์ เพราะมั่นใจในคุณภาพของเครื่องยนต์ พื้นที่ภายในรถสะดวกสบาย มีที่วางกระเป๋าขนาดใหญ่สำหรับนักท่องเที่ยว อินเตอร์เน็ตไร้สาย(Wifi) ทำให้ไม่ขาดการติดต่อตลอดการเดินทาง ช่องเสียบยูเอสบีทุกที่นั่ง ระบบGPS สามารถติดตามได้ว่ารถที่ใช้บริการรวมถึงรถแต่ละคันอยู่จุดไหน กล้องCCTV เพื่อตรวจจับรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสาร
มีห้อง Control Room ที่คอยควบคุมการทำงานของพนักงานขับรถและความปลอดภัยของผู้โดยสาร ผ่านจอทีวี ซึ่งติดตั้งอยู่ภายในสำนักงานของ PKCD ที่ เซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต อีสท์ (ฝั่งโฮมเวิร์ค) ลิฟต์สำหรับให้บริการผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์ และสามารถเช็คเวลาโดยประมาณได้ว่าใช้เวลารอรถอีกนานเท่าไหร่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนเดินทางได้ล่วงหน้าได้อย่างสะดวกสบาย ผ่าน www.Choop.Me
“ส่วนการชำระค่าโดยสาร จะชำระผ่านบัตร Rabbit x Phuket Smartcard แทนเงินสด ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มตั้งแต่ 50 บาทไปจนถึง 170 บาท โดยสามารถซื้อบัตร Rabbit x Phuket Smartcard ได้บนรถภูเก็ตสมาร์ทบัส ในราคาเริ่มต้น 300 บาท เป็นค่าบัตร 100 บาท พร้อมมูลค่าเงินในบัตรแรบบิทพร้อมใช้งานทันที 200 บาท เพื่อใช้ชำระค่าโดยสาร รวมไปถึงการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ พร้อมรับสิทธิพิเศษและส่วนลดอีกมากมาย ณ ร้านค้าชั้นนำที่มีเครื่องรับบัตรแรบบิทกว่า 60 จุดทั่วภูเก็ต และสามารถนำบัตร Rabbit x Phuket Smartcard มาใช้ในกรุงเทพฯ ได้อีกด้วย
ด้านฟังก์ชั่นการใช้งานของบัตร Rabbit x Phuket Smartcard นี้ สามารถใช้งานได้เหมือนกับบัตร Rabbit ที่ได้รับความนิยมมากในกรุงเทพฯ โดยเป็นบัตรสมาร์ทการ์ดที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองสู่สังคมไร้เงินสดได้อย่างแท้จริง เพียงบัตรเดียวก็สามารถกิน เที่ยว ชอปได้สบายๆ พร้อมรับสิทธิประโยชน์ และ ส่วนลดพิเศษมากมาย ให้ทุกการใช้จ่ายสนุกมากขึ้น เมื่อจ่ายน้อยลง
ที่สำคัญบัตร Rabbit x Phuket Smartcard ไม่เพียงแต่ใช้จ่ายได้ที่ร้านค้าทั่วภูเก็ตกว่า 60 จุด แต่ยังสามารถใช้ได้กับระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการกว่า 5,000 จุดที่รับบัตร Rabbit เฉพาะในภูเก็ตมีจุดที่พร้อมให้บริการแล้ว 2,000 จุด
“สำหรับเส้นทางการเดินรถ บริษัท ภูเก็ตสมาร์ทบัส จำกัด(PKSB) เลือกเส้นทางเชื่อมสนามบินนานาชาติภูเก็ต สู่เส้นทางเลียบหาด โดยใช้ ชื่อ ว่า เส้นทางสายสีฟ้า เริ่มเส้นทางจาก สนามบินนานาชาติภูเก็ต สู่ หาดสุรินทร์ หาดกมลา หาดป่าตอง หาดกะรน หาดกะตะ และ หาดราไวย์ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญและสวยงาม ตลอดเส้นทาง ระยะกว่า 56 กิโลเมตร มีจุดจอดขึ้นลงตลอดสายมากกว่า 50 จุด ทั้งไปและกลับ ให้บริการวันละ 32 เที่ยวต่อวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 น.จนถึง 20.00 น. ระยะเวลารถออกประมาณ 45 นาทีต่อคัน ส่วนระยะเวลาเดินทางตั้งแต่ต้นทางไปสุดทาง ใช้เวลาประมาณ 2- 3 ชั่วโมง”
ในขณะเดียวกัน ภูเก็ตพัฒนาเมือง(PKCD) กำลังร่วมมือกับวีซ่า พันธมิตรอย่างเป็นทางการในการริเริ่มโครงการพัฒนาระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิตโดยเฉพาะแบบไร้สัมผัสเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทั้งคนไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ขณะที่ นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การชำระเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการคมนาคมสาธารณะ วีซ่ามุ่งมั่นที่จะให้ประสบการณ์ในการเดินทางสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะโดยรถโดยสารสาธารณะ เรือ หรือ เครื่องบิน ระบบโดยสารสาธารณะหลายประเทศทั่วโลกได้หันมาใช้ระบบรับเงินแบบเปิด หรือ open loop ที่รับทั้งบัตรเครดิตและเดบิต ที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด กว่า สามพันล้านใบ ลดภาระของผู้ให้บริการในการออกบัตรใหม่
ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องซื้อบัตรใหม่ ลดเวลาการเติมเงิน และเพิ่มความปลอดภัยทางข้อมูล ในมหานครอย่างลอนดอนที่มีการรับการชำระเงินแบบเปิดมาแล้วกว่าสามปีด้วยความร่วมมือกับวีซ่า มากกว่า 40 เปอร์เซนต์ของการเดินทางของ Transport for London เป็นการชำระเงินแบบไร้สัมผัสผ่านบัตรและมือถือ วีซ่ายินดีที่มีส่วนช่วยให้ภูเก็ตเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย ที่ก้าวสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้”
สำหรับในส่วนของ “ภูเก็ตพัฒนาเมือง(PKCD) มุ่งหวังว่า หลังจากที่มีการเปิดตัวภูเก็ตสมาร์ทบัสไปแล้ว เราจะสามารถเป็นต้นแบบในการให้รถสาธารณะต่างๆ ได้เห็นแล้วก็นำไปพัฒนาเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ที่ใช้รถส่วนตัวหันมาใช้รถโดยสารสาธารณะ จำนวนรถบนท้องถนนจะน้อยลงอย่างแน่นอน การเดินทางก็จะสะดวกและรวดเร็วขึ้น สร้างภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยว ทำให้การท่องเที่ยวยั่งยืนได้”
- May 2025 (9)
- April 2025 (21)
- March 2025 (35)
- February 2025 (23)
- January 2025 (23)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)