ส.ไทยบริการท่องเที่ยวขอผู้ว่า สั่งปิดบริษัทนำเที่ยและเกี่ยวเนื่อง หลังโควิดกระทบหนัก

โพสเมื่อ : Friday, April 10th, 2020 : 3.30 pm

สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว รุกยื่นหนังสือขอผู้ว่าสังปิดบริษัทนำเที่ยว สถานประกอบการนำเที่ยว ใน.จ.ภูเก็ต หลังได้รับผลกระทบจากโควิดระบาด แต่ถูกภาครัฐเมิน ทั้ง ๆ ที่เป็นกลุ่มแรกๆที่ได้รับผลกระทบจากโควิดระบาด

วันนี้ ( 10 เม.ย.) ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยว และสถานประกอบการนำเที่ยวจังหวัดภูเก็ต พร้อมผู้ประกอบการจำหน่ายของที่ระลึก นำโดย สิริกร บุญญสิริ ประธานชมรมไทยบริการท่องเที่ยว – ภาคใต้ตอนบน สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว พร้อมด้วยสมาชิก เข้าร่วมประชุมกับทางนายภคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต ณ ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลาง จ.ภูเก็ต

เพื่อนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 และขอให้ทางจังหวัดสั่งปิดบริษัทนำเที่ยว สถานประกอบการนำเที่ยว จังหวัดภูเก็ต ที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย(ตาม พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  2551และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่สอง 2559 ) และ สถานประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนำเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด COVID19 เป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

นางสิริกร กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการในจังภูเก็ตที่ได้จดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวตามพรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  ได้แก่ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจจำหน่ายบัตรโดยสาร รถ เรือ จองห้องพัก ให้เช่าเรือ เช่ารถ ธุรกิจดำน้ำ ธุรกิจสันทนาการ เรือนำเที่ยว ท่าเรือนำเที่ยว และสถานประกอบการอื่น ๆที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น ร้านอาหารสำหรับรับนักท่องเที่ยวที่รับจองจากบริษัททัวร์โดยนำวอเชอร์มาแลกเปลี่ยน  และ ร้านขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว และธุรกิจที่ต้องขอใบอนุญาตจากนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ มีความจำเป็นที่ไม่สามารถประกอบกิจการ ด้วยเนื่องจาก สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีผลต่อความปลอดภัยทั้งนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการ

ด้วยเหตุจำเป็นดังต่อไปนี้ ที่ธุรกิจนำเที่ยวและ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป เช่น สายการบินทั่วโลกเริ่มทยอย หยุดบิน ตั้งแต่ วันที่ 15 มีนาคม 2563 เพื่อ ลดการระบาดของโรคติดเชื้อ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มีการเดินทาง

30 มีนาคม 2563 มีคำสั่งปิดทางเข้าออกจังหวัดภูเก็ต ที่ด่านตรวจท่าฉัตรไชย  ปิดการคมนาคม ทางบก และ ทางน้ำมีคำสั่งปิดโรงแรม เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563   รวมทั้งคำสั่งปิดแหล่งท่องเที่ยว สวนสัตว์ ชายหาด อุทยานแห่งชาติ ถนนคนเดิน ถนนบางลา ปิดฟื้นที่เข้าออกป่าตอง-เมือง และอื่น ๆ มีคำสั่งให้ร้านอาหารจำหน่ายเพื่อการไปบริโภคที่บ้านเท่านั้นไม่สามารถนั่งรับประทานในร้านได้ และ มีคำสั่งปิดท่าอากาศยานภูเก็ต ระหว่างวันที่ 10-30 เมษายน 2563

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสำคัญ โดยพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ตมีประวัติได้รับเชื้อมาจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือมีประวัติสัมผัสกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 

เพื่อให้ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ COVID-19 ในจว. ภูเก็ต  ซึ่งมีแนวโน้มจะระบาดมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีความสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ ของประชาชนลูกจ้าง  นายจ้าง  และเพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆของจังหวัดสัมฤทธิ์ผล การให้เก็บตัวอยู่ที่บ้าน ลดความแออัด ลดระยะห่างทางสังคม Social Distancing  และนโยบายปิดทุกตำบลของจังหวัดภูเก็ต (13 เมษายน 2563) ก็จะเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้

ทางชมรมไทยบริการท่องเที่ยว ส่วนภูมิภาค-ภาคใต้ตอนบน (สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว)ในฐานะตัวแทนของบริษัทนำเที่ยว และ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว จึงขอสนับสนุนนโยบาย การให้ทุกคนอยู่บ้าน (อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ) จึงอยากเรียกร้องให้บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบการนำเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ต ที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายและสถานประกอบการอื่น ๆที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด COVID19 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่บัดนี้ จนกว่าสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

สำหรับผู้ประกอบการนำเที่ยว และสถานประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีไม่ต่ำกว่า 1,600 แห่ง มีพนักงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10,000 คน แต่ปัจจุบันในส่วนของสถานประกอบการดังกล่าวกลับได้รับผลกระทบตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ การช่วยเหลือต่าง ๆ ไม่เคยมีการสอบถาม ทุกคนต้องแบกรับภาระรวมไปถึงการจ้างงานต่อในส่วนของพนักงาน จึงอยากให้มีการสั่งปิดกิจการชั่วคราวเพื่อที่ทางประกันสังคมจะได้เข้ามาช่วยเหลือในส่วนของการจ่ายค่าจ้าง 62 % .เพื่อช่วยแบ่งเบ่าภาระให้กับผู้ประกอบการและเป็นการช่วยเหลือให้สามารถยื้อให้ผู้ประกอบการสามารถยื้อชีวิตต่อไปได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและสามารถกลับมาต่อสู้และฟื้นฟูบริษัทให้เดินหน้าต่อไปได้หลังโรคระบาดสงบลง