สำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติ ของบพัฒนา แก้น้ำท่วม-ขาดแคลนน้ำ
โพสเมื่อ : Thursday, May 2nd, 2019 : 4.40 pm
จังหวัดภูเก็ตเร่งสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติทุกพื้นที่ ของบพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซ ให้แหล่งน้ำสามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนและนำน้ำมาใช้ในหน้าแล้ง แก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งอย่างเป็นระบบ

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (2 พ.ค.) ที่ห้องประชุมโครงการชลประทานจังหวัดภูเก็ต ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมพิจารณาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม แหล่งเก็บกักน้ำที่เหมาะสมจังหวัดภูเก็ต โดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทั้งชลประทานจังหวัดภูเก็ต ท้องถิ่น ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้จังหวัดสำรวจแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ที่เป็นแม่น้ำขนาดเล็ก ลำคลอง ห้วย ลำธาร ที่เป็นต้นน้ำหรือมีความเหมาะสมที่จะกักเก็บน้ำและสามารถใช้แรงงานคนจัดทำฝายชะลอน้ำในช่วงฤดูฝนได้ และแหล่งน้ำที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถใช้การได้ โดยให้จังหวัดรวบรวมข้อมูลเพื่อของบประมาณมาดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง และซ่อมแซม ให้สามารถกักเก็บน้ำได้ในฤดูฝน และนำน้ำมาใช้ได้ในฤดูแล้งนั้น
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต ได้มีการสำรวจแหล่งน้ำที่ทางชลประทานถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่สามารถใช้งานได้ มีจำนวน 46 แห่ง ประกอบด้วย ฝ่ายจำนวน 15 แห่ง แก้มลิง 2 แห่ง สระจำนวน 25 แห่ง คลอง 5 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง เช่น ฝายบ้านหัวควน ฝายบ้านเหนือโตน ในพื้นที่ตำบลกมลา ที่ชาวบ้านยังใช้ประโยชน์และมีสภาพที่ชำรุด จะต้องซ่อมแซมในส่วนของระบบส่งน้ำ ฝายคลองกะทู้ ฝายคลองบางทอง ในพื้นที่ตำบลกะทู้ ฝายคลองขี้อ้น ในพื้นที่ป่าตอง อาคารป้องกันน้ำเค็มในพื้นที่ตำบลฉลอง 3 แห่ง ทำนบดินบ้านอ่าวน้ำบ่อ ฝายคลองในเล ตำบลเชิงทะเล อาคารอัดน้ำโคกโตนด เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อนำเสนอโครงการต่างๆ ไปยังกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นในการของบประมาณมาดำเนินการ ทั้งในส่วนของการปรับปรุงหัวงานโครงการ ระบบส่งน้ำ ขุดลอกจากการตื้นเขิน เพราะแหล่งน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ ส่วนใหญ่แล้ว ประชาชนยังใช้ในเรื่องของเกษตรกรรม ใช้ในการอุปโภคในครัวเรือน รวมไปถึงฝายดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้เช่นกัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ยังกล่าวถึงปัญหาขาดแคลนน้ำในภูเก็ต ว่า สถานการณ์ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติแม้ว่าจะมีฝนตกลงมาติดต่อกัน 4-5 วัน ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น เช่น ที่อ่างเก็บน้ำบางวาดมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 แสน ลบ.ม.จากฝนที่ตกลงมาและทำให้มีน้ำสูบเข้าอ่างเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ปลายท่อน้ำประปา น้ำประปายังไหลไม่ปกติ เพราะทางชลประทานลดลงเพื่อประคองให้มีน้ำใช้ไปจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งการประปา และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังนำน้ำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในบางพื้นที่ ซึ่งจะดำเนินการจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ทางกรมชลประทานได้มีการวางแผนในการเพิ่มน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำ การนำน้ำจากขุมเหมืองของเอกชนที่สำรวจพบว่ามีถึง 109 แห่ง มาใช้ ซึ่งทางการประปาก็ได้มีการซื้อน้ำดิบจากขุมเหมืองมาผลิตน้ำประปาอยู่แล้วในปัจจุบัน รวมไปถึงโครงการผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำจืด เป็นต้น
- อบจ.ภูเก็ต มอบเงินอุดหนุนโครงการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬามวลชนและนันทนาการ จ.ภูเก็...
- ภูเก็ตยกระดับ up level ท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต จัดงาน “Phuket Business Matching”...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ภูเก็ตสีขาว สร้างพื้นที่ปล...
- อบจ.ภูเก็ต เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ประจำปี 2568 สมัยแรก (ครั้งที่ 2)...
- ยิ่งใหญ่ ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ มาอยู่ที่ งาน PHUKET RENOVATION EXHIBITIO...
- ปิดฉากการแข่งขัน “Jungceylon Beach Body Competition 2025”...
- April 2025 (1)
- March 2025 (34)
- February 2025 (23)
- January 2025 (23)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)