รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยลงภูเก็ตติดตามปัญหาขาดแคลนน้ำ ระบุน่าห่วงถ้าบริหารไม่ดี
โพสเมื่อ : Friday, September 4th, 2020 : 3.23 pm
รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยพร้อมคณะ ลงพื้นที่ภูเก็ตรับฟังปัญหาขาดแคลนน้ำ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดภูเก็ตเพื่อรองรับการขยายตัวของคนใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นทุกปี ย้ำปัญหาภัยแล้งน่าเป็นห่วงถ้าบริหารจัดการน้ำไม่ดี
วันนี้ (4 กันยายน 2563) ที่ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาภูเก็ต นายทรงศักดิ์ ทรงศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ติดตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และ การให้บริการน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาภูเก็ต โดยมีนายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต, นายประทีป กุศลวัฒนะ ผู้อำนวยการการประปาส่วนภูมิภาค เขต 4 และนายไกรสร มะหะหมัด ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาค สาขาภูเก็ต ให้การต้อนรับและบรรยายสรุป
นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน รวมถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองภูเก็ต ทำให้แต่ละวันมีปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงถึงวันละกว่า 100,000 ลบ.ม. ขณะที่อ่างเก็บน้ำหลักมีเพียง 3 แห่ง คืออ่างเก็บน้ำบางวาด อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และอ่างเก็บน้ำคลองกะทะ ซึ่งปริมาณน้ำคงเหลือค่อนข้างวิกฤต ทางจังหวัดจึงหารือร่วมกับโครงการชลประทานภูเก็ต, การประปาส่วนภูมิภาคสาขาภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยมติในที่ประชุม สทนช.เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 เสนอแนะการบริหารจัดการน้ำ ให้เลือกใช้น้ำจากลำคลองธรรมชาติมาผลิตเป็นน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงหน้าฝน ส่วนน้ำที่เหลือให้มีการทำฝายชั่วคราวในลำคลองธรรมชาติเพื่อสูบไปเก็บไว้ยังอ่างเก็บน้ำหลัก เพื่อเก็บกักไว้ใช้เป็นน้ำสำรองสำหรับหน้าแล้ง และให้ติดต่อขอซื้อน้ำจากขุมเหมืองเอกชนนำมาผลิตน้ำประปาในช่วงฝนทิ้งช่วง
ปัจจุบันการประปาส่วนภูมิภาคสาขาภูเก็ต ผลิตน้ำได้วันละ 102,600 ลบ.ม./วัน มีการซื้อน้ำจากบริษัทเอกชน 60,200 ลบ.ม./วัน รวมกำลังผลิตทั้งหมด 162,800 ลบ.ม.ต่อวัน ส่งจ่ายน้ำแจกจ่ายให้ประชาชน 66,670 ราย ใน 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต คือ อ.ถลาง อ.เมือง และ อ.กะทู้ แต่ก็ถือว่ายังไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้น้ำของประชาชนและภาคธุรกิจ
จังหวัดภูเก็ตจึงมีแผนการดำเนินการตามมติที่ประชุม สทนช.ในปีงบประมาณ 2563 เสนอโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนทั้งโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยแผนระยะสั้น มี 3 โครงการ คือ 1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ 2.โครงการระบบสูบผันบ้านโคกโตนด–อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ 3.โครงการบำบัดน้ำเสียมาผลิตเป็นน้ำประปา ส่วนแผนงานระยะกลาง มี 2 โครงการ คือ 1. โครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และ 2. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพังงา-ภูเก็ต
และแผนงานระยะยาวมี 1 โครงการคือ โครงการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำอ่าวภูเก็ต ทั้งนี้หากโครงการเหล่านี้ได้รับการขับเคลื่อนและอนุมัติงบประมาณจะทำให้จังหวัดภูเก็ตสามารถแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน เพื่อรองรับแนวโน้มผู้ใช้น้ำในจังหวัดภูเก็ต ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12 ต่อปี โดยคาดการณ์ว่าในปี 2575 ปริมาณความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตจะสูงขึ้นถึง 112 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี
หลังรับฟังบรรยายสรุปรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมอ่างเก็บน้ำบางวาด ใน อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งโครงการชลประทานภูเก็ตเป็นผู้รับผิดชอบ นายอิสระ อนุกูล รองผู้อำนวยการโครงการชลประทานภูเก็ต เป็นผู้รายงานสถานการณ์น้ำ โดยอ่างเก็บน้ำบางวาดมีความจุ 10.20 ล้าน ลบ.ม. ข้อมูลวันที่ 4 กันยายน 2563 มีปริมาณน้ำปัจจุบัน 3.45 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 34% คงเหลือผลิตน้ำได้ 151 วันแต่ปัจจุบันไม่ได้ส่งจ่ายน้ำไปยังระบบผลิตน้ำประปาเนื่องจากต้องกักเก็บไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งปีหน้าตามแผนบริหารจัดการน้ำของจังหวัดภูเก็ต และเดินทางต่อไปยังโรงสูบน้ำแรงต่ำคลองบางใหญ่ เพื่อตรวจเยี่ยมและรับฟังถึงรูปแบบการทำงานของระบบสูบน้ำส่งน้ำอีกด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ว่าการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจังหวัดภูเก็ตจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำเหมือนปีที่ผ่านมา และ สามารถบริการแจกจ่ายน้ำประปาให้กับผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตเราทราบดีกันอยู่แล้วว่ามีการปริมาณการใช้น้ำมีมาก แม้ว่าจังหวัดภูเก็ตจะมีเพียงแค่ 3 อำเภอ แต่พบว่าปริมาณการใช้น้ำมีมากถึง 40 กว่าล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเฉพาะในส่วนที่ทางการประปาดูแล ยังไม่รวมในส่วนของภาคเอกชนที่ผลิตน้ำอีก
ซึ่งแนวแนวโนเมการใช้น้ำประปาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตพบว่ามีแนวโน้มการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2575 คาดว่าจะมีการใช้น้ำประมาณ 112 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีการใช้น้ำมากขึ้นทุกปี และในช่วงที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าจังหวัดภูเก็ตเกิดวิกฤติการแคลนน้ำและปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วงถ้าจังหวัดภูเก็ตไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ดี
แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจากวิกฤติที่ผ่านมาทางจังหวัดภูเก็ตทราบดีอยู่แล้วว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเกิดจากอะไรและที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามที่จะร่วมกันแก้ปัญหา เช่นการกำหนดแผนงานโครงการในการบริหารจัดการน้ำทั้งระยะสั้นและระยะ โดยในระยะสั้นคือการสืบน้ำจากน้ำฝนที่ไหลลงคลองต่างนำกลับไปผลิตน้ำประปา และสูบน้ำบางส่วนนำกลับไปเติมในอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง ทำให้ขณะนี้สามารถเปิดปริมาณน้ำให้กับอ่างได้จำนวนหนึ่งแม้จะไม่ถึง 50 % ตาม
นอกจากนั้นในระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาที่ยังยืนทางประปาได้กำหนดแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปา กปภสาขาพังงา – ภูเก็ต 2 ระยะใช้งบประมาณ 3,500 กว่าล้านบาท ซึ่งครม.มีมติเห็นชอบโครงการไปแล้ว แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องของงบประมาณ เนื่องจากปี 64 ถูกตัดงบไปแล้วซึ่งจะต้องรอของบปี 65 ต่อไปแต่คาดว่าไม่น่ามีปัญหา เชื่อว่าในปี 65 จะมีการผลักดันงบประมาณเรื่องนี้ กลับเข้ามาพิจารณาอย่างแน่นอน เพราะจริง ๆ แล้ว ครม.ได้ให้ความสำคัญ และมีมติเห็นชอบในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำอยู่แล้ว แต่เนื่องจากงบประมาณปีนี้ ต้องเห็นใจเรื่องวิกฤตโควิด-19 ทำให้งบประมาณบางส่วนต้องนำไปใช้ในเรื่องการป้องกันและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ แต่ตนมั่นใจว่างบประมาณปี 2565 ที่จะเสนอไปคงได้รับการจัดสรรเพื่อนำมาพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับจังหวัดภูเก็ต ส่วนในปีนี้จากที่ได้มาดูก็มั่นใจว่าเราสามารถป้องกันน้ำขาดแคลนได้อย่างแน่นอน.
- “อโนชา พร็อพเพอร์ตี้” นักลงทุนภูเก็ต สวนกระแสแผ่นดินไหว ขยายการลงทุนเพิ่ม ผุดคอ...
- อบจ.ภูเก็ต มอบเงินอุดหนุนโครงการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬามวลชนและนันทนาการ จ.ภูเก็...
- ภูเก็ตยกระดับ up level ท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต จัดงาน “Phuket Business Matching”...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ภูเก็ตสีขาว สร้างพื้นที่ปล...
- อบจ.ภูเก็ต เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ประจำปี 2568 สมัยแรก (ครั้งที่ 2)...
- ยิ่งใหญ่ ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ มาอยู่ที่ งาน PHUKET RENOVATION EXHIBITIO...
- April 2025 (2)
- March 2025 (34)
- February 2025 (23)
- January 2025 (23)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)