รอดู! ผู้ว่าภูเก็ต ยกระดับ Phuket Gatewayให้เป็น Land Markแห่งใหม่
โพสเมื่อ : Thursday, June 29th, 2017 : 11.38 am
พ่อเมืองภูเก็ต หาทางปรับปรุงพัฒนา ประตูเมืองภูเก็ต (Phuket Gateway)ให้เป็น Land Mark แห่งใหม่ พร้อมให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว และ เปิดจุดจำหน่ายแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดีภูเก็ต หลังสร้างแล้วใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
ที่ห้องประชุมประตูเมืองภูเก็ต (Phuket Gateway) นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาประตูเมืองภูเก็ต (Phuket Gateway) ให้เป็นLand Markแห่งใหม่ หลังจากโดยมี นายวัชรินทร์ ปฐมวัฒนพงศ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ปฏิบัติหน้าที่นายก อบจ.ภูเก็ต พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี วิกรม จากที่ นายอำเภอถลาง,ผู้แทนแขวงทางหลวงภูเก็ต ผู้แทนโยธาธิการจังหวัดนางบุษยา ใจเปี่ยม ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต
นายนรภัทร ปลอดทอง ผวจ.ภูเก็ต กล่าวว่า Phuket Gateway ถือเป็นสถานที่สำคัญ แต่เหมือนถูกปล่อยทิ้งใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนาและยกระดับ สถานที่ดังกล่าว ให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของภูเก็ต ที่สามารถให้บริการข้อมูลด้าน การท่องเที่ยว มีเส้นทางเดินรถเข้า – ออก ที่สะดวก ปลอดภัย มีจุดถ่ายรูป และ สร้างจุดสนใจที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ตเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของประชาชน และนักท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นจุดพักรถให้บริการนักท่องเที่ยว โดยปรับปรุงพื้นที่บริเวณประติมากรรม ตกแต่งให้สวยงามด้วยเต่าและไข่เต่า รวมทั้งการพัฒนาตัวอาคาร และ สิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ ตลอดจนเปิดเป็นจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน ของ ดี ภูเก็ต อาทิ ผ้าบาติก ไข่มุก ของที่ระลึก สับปะรด พืชผักผลไม้ ต่างๆ จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับอาคารประตูเมืองภูเก็ต หรือ Phuket Gateway องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ได้ก่อสร้าง เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี 2550 บนพื้นที่ 25 ไร่ ที่บ้านท่าฉัตรไชย มีจุดเด่น ของอาคารแห่งนี้ คือ เสาประติมากรรมเรียงรายเป็นแนวยาว 29 ต้น ตามแนวคิดว่า เลข 2 คือ ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร สองวีรสตรีของชาวภูเก็ต ส่วนเลข 9 มีนัยถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 บนเสา ทั้ง 29 ต้นนี้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของภูเก็ต ผ่านข้อมูลที่จารึกอยู่บนเสา ซึ่งได้เรียงร้อยเรื่องราวต่างๆ ของภูเก็ต ตั้งแต่ยุครุ่งเรืองจากการทำเหมืองแร่ดีบุก การทำเกษตรกรรม จนถึงยุคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และยังมีประติมากรรมบ้านและชีวิต สื่อเป็นรูปกระดองเต่าทะเลกับไข่ขนาดใหญ่หลายฟองด้านหน้าอาคาร โดยฝีมือของศิลปินเอก ศาสตราจารย์ธนะ เลาหกัยกุล
นอกจากประตู เมืองภูเก็ต ยังมีศูนย์ให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว มินิเธียเตอร์ สำหรับชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับภูเก็ต สารคดีท่องเที่ยว มีมุมสบาย โกปี้คอนเนอร์ เพื่อดื่มชมกาแฟ ขนมพื้นบ้านอร่อย ๆ และซื้อของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากทั่วเมืองไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ดีไซน์ของ ภูเก็ต ผ้าบาติก ไข่มุก อาหารแปรรูป และชิ้นงานศิลปะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีบริการห้องสมุดพร้อมการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต เพื่อการท่องเที่ยว
แต่ปัจจุบัน พบว่า ประตูเมืองภูเก็ต ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ตามที่วางวัตถุประสงค์ไว้ เนื่องจากมีปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องของการเข้าถึง และการบริหารจัดการ ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังไม่ใช่จุดที่เป็นจุดหมายในการแวะเข้าไปพักรถ หรือ ท่องเที่ยวที่บริเวณดังกล่าว
- ภูเก็ตยกระดับ up level ท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต จัดงาน “Phuket Business Matching”...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ภูเก็ตสีขาว สร้างพื้นที่ปล...
- อบจ.ภูเก็ต เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ประจำปี 2568 สมัยแรก (ครั้งที่ 2)...
- ยิ่งใหญ่ ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ มาอยู่ที่ งาน PHUKET RENOVATION EXHIBITIO...
- ปิดฉากการแข่งขัน “Jungceylon Beach Body Competition 2025”...
- นายก อบจ.ภูเก็ต เปิดกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปูทะเล โครงการพัฒนาศักยภาพชาวประมงเพื่อส่ง...
- March 2025 (34)
- February 2025 (23)
- January 2025 (23)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)