ยังมากันตรึม ! ที่สุดในรอบ 30 ปี ปลาชุก –กุ้งเคยชุม ประมงหาดกะรน – ในหาน จับได้เพียบ
โพสเมื่อ : Tuesday, December 7th, 2021 : 1.33 pm
ยังมากันเพียบ จับได้มากที่มากที่สุดในรอบ 30 ปี ชาวประมงพื้นบ้านหาดกะรน – ในหาน จับได้เต็มอวนเกือบทุกวัน ตลอดเดือน พ.ย. ต่อเนื่อง ธ.ค. ทำรายได้ช่วงโควิด พร้อมสร้างสีสันให้เมืองท่องเที่ยว
ช่วงนี้นับเป็นช่วงนาทีทองของชาวประมงพื้นบ้าน จ.ภูเก็ต โดยเฉพาะ หาดกะรน ต.กะรน และ หาดในหาน ต.ราไวย์ ที่สามารถวางอวนจับปลาทะเล และ กุ้งเคย ได้จำนวนมากๆเกือบทุกวัน ตลอดตั้งแต่เดือน พ.ย.เป็นต้นมา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีทั้ง ปลามง และ ปลาหางแข็ง ปลาโทงแม่หม้าย ปลาเสียด และอื่นๆอีกจำนวนมาก ซึ่งสร้างความดีใจให้กับชาวประมงพื้นบ้านเป็นอย่างมาก โดยปลาที่จับได้นอกจากนำมาแบ่งปันกันแล้ว ส่วนที่เหลือนำขายให้กับคนในพื้นที่ เป็นการสร้างรายได้ในช่วงโควิด รวมทั้งยังเป็นการสร้างสีสันให้กับเมืองท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงนี้นอกจากจะได้ชมความสวยงามของหาดทราย ชายทะเล แล้ว ยังจะได้พบกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่หาดูได้ยากอีกด้วย
นายอำนวย หอมหวาน หรือโกเล็ก หนึ่งในเจ้าของเรือไฟเบอร์ลากปลาริมชายหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ปลา จะเข้ามาหากินกุ้งเคย ริมชายฝั่ง แต่ปีนี้พบว่าจำนวนปลาค่อนข้างมากและมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลาที่จับได้พบว่าน้ำหนักมากกว่าตัวละกว่า 1 กิโลกรัม ซึ่งช่วงนี้พบว่าชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาได้เกือบทุกวัน ซึ่งนอกจากจะจับปลาได้แล้ว ชาวประมงยังจับกุ้งเคยได้อีกด้วย นับว่าปริมาณปลา และกุ้งเคยที่จับได้ในปีนี้มีจำนวนมากที่สุดในรอบ 30 ปี
สาเหตุที่ทำให้จับปลาและกุ้งเคยได้จำนวนมากขนาดนี้ เชื่อว่า เป็นผลกระทบมากจากการแพร่ระบาดของโรคโควิดด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ธรรมชาติในทะเลได้ฟื้นตัวกลับมามีสภาพที่สมบูรณ์ และเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์น้อยใหญ่ รวมทั้งทะเลมีความสงบไม่ถูกรบกวน ทำให้สัตว์น้ำตัวเล็กๆอย่างกุ้งเคยว่ายน้ำเข้ามาหากินบริเวณแนวชายหาดมากขึ้น เมื่อกุ้งเคยซึ่งเป็นอาหารของปลาอื่น ๆ เข้ามาอยู่บริเวณชายหาด ปลาเหล่านั้นก็จะตามมากินลูกกุ้งเคยด้วย ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถวางอวนจับปลาได้ครั้งละจำนวนมากๆ นับว่าเป็นความโชคดีของชาวประมงที่สามารถจับปลาได้จำนวนมาก
ขณะที่นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลราไวย์ กล่าวว่า ในช่วงเดือด พ.ย.- ต้นเดือน ม.ค. ของทุกปี จะมีปลาว่ายน้ำเข้ามาให้ชายฝั่งชุกชุม สำหรับปีนี้พบว่าชาวประมงสามารถจับปลาได้เกือบทุกวัน ขึ้นอยู่กับฝูงกุ้งเคยจะว่ายน้ำเข้าไปชายหาดไหน สำหรับในส่วนของหาดในหาน จ.ภูเก็ตนั้น ชาวประมงพื้นบ้านที่สืบทอดวิถีชีวิตชาวประมงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังคงใช้วิธีจับปลาแบบดั้งเดิม ที่หาดูได้ยาก ลงพื้นที่จับปลาเกือบทุกวัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสืบสานวิธีการจับปลาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสามัคคีของคนในพื้นที่ด้วย โดยปลาที่จับได้ในแต่ละวันไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับจำนวนปลาที่เข้ามาบริเวณชายหาด
อย่างไรก็ตาม ปีนี้พบว่ามีปลาเข้ามาจำนวนมาก สร้างความดีใจให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ที่ผ่านมาทางเทศบาลได้จัดกิจกรรม “ชมเล แลหาด หากปลาในเล” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพบว่าได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวคนไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมวิถีการจับปลาชายหาดยังสามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวชายหาดในหาน ต.ราไวย์ ได้ทุกวัน แต่เวลาการจับปลาอาจจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการเข้ามาของฝูงปลา
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีเปิดงานตรุษจีนภูเก็ต (เดือนสามบ้านเรา) ประจำปี 2568...
- ผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.ภูเก็ต “เรวัต อารีรอบ” ชนะ “หมอโอ” นั่งเก้าอี้นายกต่ออี...
- ผลคะแนนเลือกตั้ง ส.อบจ.ภูเก็ต ทีมภูเก็ตหยัดได้เข้า 21 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นผู้สมั...
- คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ อบจ.ภูเก็ต ลงพื้นที่ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย...
- ผอ.กกต.อบจ.ภูเก็ต ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเลือกตั้ง บรรยากาศคึกคัก ผู้สูงอายุทยอยใ...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมกับ กกต.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งนายกและส.อบจ....
- February 2025 (5)
- January 2025 (21)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)