ยอดพุ่ง นักท่องเที่ยวจมน้ำตาย ปี 62 ยอด 22 ราย

โพสเมื่อ : Thursday, December 5th, 2019 : 3.52 pm

ยอดพุ่ง นักท่องเที่ยวจมน้ำตาย ปี 62 ยอด 22 ราย พบจมน้ำชายหาด ขณะที่สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย ตำรวจท่องที่ยว ทหารเรือ จี้หน่วยงานเกี่ยวข้องเพิ่มมาตรการดูแล

เมื่อเร็วๆนี้ พลเรือโทเชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมด้วย พล.ต.ท.เชษฐา โกมลวรรธนะ ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว พล.ต.ต.กฤษศักดิ์ สงมูลนาค ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว 3 นายวิวัฒน์ ชิดเชิดวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต นายจรูญ แก้วมุกดากุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต นายประสิทธิ์ โยธารักษ์ ผู้อำนวยการกองกิจการขนส่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมเพื่อหามาตรการป้องกันและลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางทะเลขึ้น เพื่อเรียกความมั่นใจจากนักท่องเที่ยวให้กับคืนมา โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นที่ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง อ.เมืองภูเก็ต

ทั้งนี้ในการประชุมได้นำเสนอข้อมูล สถิติการจมน้ำเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ พบว่า ปี 2561 มีนักท่องเที่ยวจมน้ำเสียชีวิต  19 ราย ส่วนปี 2562 มีนักท่องเที่ยวจมน้ำเสียชีวิตแล้ว  22 ราย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าจมน้ำเสียชีวิตจากการลงเล่นน้ำ บริเวณชายหาดต่างๆของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 16 ราย เสียชีวิตจากการดำน้ำตื้นหรือ Snorkeling 4 ราย เสียชีวิตจากการดำน้ำลึก 1 ราย และ เสียชีวิตจากการจมน้ำในสระน้ำของโรงแรม 1 ราย  โดยเฉพาะในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาพบว่ามีนักท่องเที่ยวจมน้ำสูงถึง 5 ราย  ส่วนนักท่องเที่ยวที่ประสบอุบัติเหตุจมน้ำที่ได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ก็มีจำนวนมาก

พล.ต.ท.เชษฐา โกมลวรรธนะ ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว กล่าวว่า ปัญหานักท่องเที่ยวประสบอุบัติเหตุเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ภูเก็ต แต่เนื่องจากภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากทำให้สถิติการเสียชีวิตมีสูง จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการในการป้องกันเพื่ออุดรู่รัวดังกล่าว ซึ่งสาเหตุของนักท่องเที่ยวประสบอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตมีจากหลายสาเหตุ

ทั้งเกิดจากความประมาทของตัวนักท่องเที่ยวที่ฝ่าฝืนธงแดงลงไปเล่นน้ำ รวมทั้งไปเล่นน้ำในจุดที่ห้ามเล่น ไปเล่นน้ำในจุดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล หรือลงเล่นน้ำในช่วงกลางคืน และเล่นน้ำขณะมึนเมา เจ้าหน้าที่ห้ามแล้วแต่ยังฝ่าฝืน ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องดูและหามาตรการในการแก้ไขให้ได้ผลมาก เช่น สัญลักษณ์เตือนห้ามเล่นน้ำในบริเวณต้องห้ามจะต้องทำเป็นสากล บางคนไม่รับรับรู้ แต่บางคนก็ดื้อ จึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันเพื่อง่ายต่อการควบคุม และ ต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวตั้งแต่อยู่ในห้องพักเพื่อให้เกิดการรับรู้ที่แท้จริง

พล.ต.ท.เชษฐา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของตำรวจท่องเที่ยวได้สั่งกำชับและมอบหมายให้เข้มงวดในเรื่องของมาตรการความปลอดภัยในทุกด้าน ร่วมถึงควบคุมและดูแลพร้อมขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการนำเที่ยว ให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบอุปกรณ์นำเที่ยวทุกรูปแบบทั้งอุปกรณ์ดำน้ำ ครูฝึกและผู้นำเที่ยวต้องมีความพร้อมและมีความชำนาญในการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมาตรฐานสากล ที่นักท่องเที่ยวให้ความเชื่อมั่นและเลือกท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตและประเทศไทย

พลเรือโท เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 กล่าวว่า ในการดูแลนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดทราบว่าหน้านี้ทาง อบจ.ภูเก็ต เป็นหน่วยงานจัดจ่างเจ้าหน้าที่ไลฟ์การ์ดในการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาด แต่หลังจากนั้นได้มีการแบ่งงานไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล ซึ่งแต่ละท้องถิ่นมีศักยภาพในการดุแลที่ไม่เหมือนกัน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลดูว่า การจ้างโดย อบจ. กับ ท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นประสิทธิภาพในการทำงานแต่งต่างกันอย่างไร เพราะคนที่จะทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยตามชายหาดหรือในทะเลจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องกลับไปทบทวน

ส่วนการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะกลุ่มที่ดูแลนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการดำน้ำนั้น ในส่วนของทัพเรือภาคที่ 3 จะมอบหมายให้ ศรชล.ภาค 3 เข้ามามีส่วนร่วมในการอบรมแนะนำการดำน้ำที่ถูกวิธี เนื่องจากเป็นชุดที่มีความชำนาญเฉพาะทางน่าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้