มูลนิธิบ้านเด็กตะวันฉายเตรียมจัดงานครบรอบ 10 ปี หาทุนช่วยเด็กด้อยโอกาส
โพสเมื่อ : Friday, June 2nd, 2017 : 2.18 pm
มูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต เตรียมจัดงานครบรอบปีที่ 10 เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกิจกรรมออกบูธระดมทุนต่อยอดการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส
เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา มูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ดร.ศุภลักษณ์ กาญจนเมธากุล ประธานมูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย และคณะ ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภูเก็ต ถึงการจัดงานครบรอบ 10 ปี เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินผลงานตลอดจนอุปสรรคในการดำเนินงานและการจัดงานประจำปี ฉลองวันครบรอบปีที่ 10 ของมูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย
ดร.ศุภลักษณ์ กาญจนเมธากุล ประธานมูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการดำเนินการก่อตั้งมูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย ว่า สืบเนื่องจากภัยพิบัติสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สโมสรไลอ้อนส์ต่างๆ ได้ให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดภูเก็ต และพังงา โดยสโมสรไลอ้อนส์ภูเก็ตอันดามันซี ได้ร่วมมือจัดหาทุนเพื่อสร้างหมู่บ้านสำหรับเด็กกำพร้าเนื่องจากภัยพิบัติ โครงการนี้ได้เริ่มอย่างจริงจังจากสโมสรไลอ้อนส์ภูเก็ตอันดามันซี สภากาชาดฝรั่งเศส และสมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต ซึ่งในขณะนั้น มีประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือและปกป้องเด็กมานานกว่า 10 ปี ได้ดำเนินการก่อตั้งมูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉายขึ้น โดยมีกรรมการมูลนิธิประกอบด้วยสมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต 4 คน และจากสโมสรไลอ้อนส์ภูเก็ตอันดามันซี 4 คน รวมเป็น 8 คน
ณ วันที่ 17 ส.ค.2549 มูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสถานสงเคราะห์เด็ก โดยดำเนินการให้เป็นที่พักพิง แก่เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาส หรือเด็กสภาวะยากลำบาก เด็กครอบครัวแตกแยก หรือผลกระทบจากภัยพิบัติ เด็กถูกทารุณ ถูกทอดทิ้ง และเด็กที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ และได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและเยาวชนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่สดใสด้วยการดูแลตามแบบฉบับแห่งครอบครัวไทย สถานสงเคราะห์เด็กหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2550 ปัจจุบันมีเด็กในการสงเคราะห์จำนวน 95 คน และเด็กก่อนวัยเข้าเรียนจากชุมชนยากจนใกล้เคียง จำนวน 20 คน
“ใน 10 ปี มีเด็กที่ผ่านเข้ามาแล้วก็ออกไปจากมูลนิธิ มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 300 คน เนื่องจากว่ามูลนิธิฯ เราเกิดมาจากกรณีพิบัติภัย เป้าหมายของเราในขณะนั้น คือการดูแลเด็กที่ประสบภัย ที่สูญเสียครอบครัว ญาติพี่น้อง ส่วนใหญ่ก็ได้รับการช่วยเหลือไปบ้างแล้ว เราก็เลยขยายการช่วยเหลือให้กับเด็กด้อยโอกาสอื่นๆด้วย ซึ่งเป็นเด็กด้อยโอกาสเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เกิดจากครอบครัวที่พ่อแม่ผลักภาระ เป็นเด็กที่ครอบครัวไม่ต้องการ หรือไม่ก็กลุ่มเสี่ยง ซึ่งอาจจะเป็นเด็กที่ครอบครัวยังต้องการ แต่ครอบครัวนั้นอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เด็กอาจจะถูกยั่วยุไปในทางที่ไม่ดีได้” ดร.ศุภลักษณ์ กล่าว
นอกจากนี้ ดร.ศุภลักษณ์ ยังได้กล่าวถึงผลงานและการดำเนินงานในรอบ 10 ปี ด้วยว่า การดำเนินงานของหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย อยู่ภายใต้การควบคุมของส่วนราชการคือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และได้รับการประเมินผลในระดับดีเยี่ยมและเป็นอันดับต้นๆ เสมอมาเป็นเวลาติดต่อกันทุกปี โดยเฉพาะในช่วงสามปีสุดท้ายที่ผ่านมาหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย ได้รับคะแนนสูงสุดในการประเมินดังกล่าว
มูลนิธิฯ ได้ช่วยแบ่งเยาภาระของรัฐบาลในการสงเคราะห์เด็กที่จำเป็นจะต้องได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ตามอัตราเฉลี่ยแล้วมูลนิธิฯ ได้รับเด็กสงเคราะห์เป็นจำนวน 120 คนต่อปี รวมถึงเด็กเล็กจากชุมชนที่ได้รับการดูแลในชั้นเรียนเด็กเล็ก
มูลนิธิฯ ได้รับสงเคราะห์เด็กที่ส่งมาโดยตรงจากหน่วยงานของรัฐคือบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 10-15 คนต่อปี และมูลนิธิฯ ยังได้รับเด็กเพื่อการสงเคราะห์ต่อจากองค์กรเอกชนอื่นๆ เช่น สมาคมพิทักษ์เด็ก บ้านพักเด็กฮอนแลนด์ บ้านลุงพิทักษ์และอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 8-12 คนต่อปี
มูลนิธิฯ ได้สงเคราะห์เด็กและคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กเหล่านั้น รวมถึงช่วยเหลือในเรื่องปัญหาด้านสุขภาพกายและจิต ความบกพร่องทางอารมณ์และสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิเด็ก เป็นต้น เช่น ปัญหาช่องปากและฟันของเด็กได้รับการดูแลจนได้รับประกาศเป็นเขตปลอดฟันผุเมื่อปลายปี 2559 จากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต มีเด็กจำนวนประมาณ 9% ที่ได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางสม่ำเสมอ เป็นต้น จัดอบรมด้านจริยธรรม ทัศนะศึกษา กิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ แก่เด็กและบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เด็กทุกคนจะได้รับการตรวจสอบถึงครอบครัวที่มีอยู่โดยมูลนิธิฯ มีความประสงค์ที่จะส่งเด็กกลับสู่ครอบครัวของตนเองเมื่อสภาวะของครอบครัวพร้อมที่จะดูแลเด็กได้ด้วยตัวเอง ในแต่ละปี สามารถคืนเด็กสู่ครอบครัวได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 5% ของเด็กทั้งหมด เมื่อมีเด็กในการสงเคราะห์ ที่มีอายุถึง 18 ปี ทางมูลนิธิฯ ได้ดูแลให้เด็กเหล่านี้ให้สามารถออกไปดำรงชีวิตได้ด้วยตัวเอง และถ้าเด็กประสงค์จะศึกษาต่อมูลนิธิฯ ก็ได้จัดหาทุน
หมู่บ้านเด็กตะวันฉาย มาถึงจุดนี้ได้เราต้องดูแลตัวเอง ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เรามีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาทต่อเดือน หรือไม่ต่ำกว่า 6 ล้านบาทต่อปี ทำไมต้องเยอะ เนื่องจากว่า นอกจากเรื่องการศึกษาที่เราต้องให้กับเขาแล้ว เด็กยังต้องมีเงินติดกระเป๋าไปโรงเรียน ในการทำกิจกรรม รับประทานอาหาร และในการใช้จ่ายส่วนหนึ่งเพื่อชีวิตของเขาด้วย ไม่ว่าทางหมู่บ้านจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะประหยัดเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เราได้มา เพื่อที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายที่เราพยายามจะลดให้มากที่สุดก็ยังไม่สามารถลดได้อย่างที่เราต้องการ แต่ถ้าเราได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เราได้อยู่ต่อไป เพื่อที่จะได้ให้การช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเหล่านั้น ซึ่งบังเอิญหลั่งไหลเข้ามาในเกาะภูเก็ตของเรา
อย่างไรก็ตามในวันที่ 18 มิ.ย.2560 ที่จะถึงนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.ทางมูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉายจะมีการจัดกิจกรรม เป็นลักษณะเหมือนการออกร้านขายของ ซึ่งตอนนี้มีร้านขายของที่แจ้งความจำนง ทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของต่าง ๆที่จะมาจำหน่ายในงาน มีจำนวน 55 บูท และเรายังมีพื้นที่ที่จะรองรับจำนวนบูทได้อีก 20 บูท จึงขอเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมกิจกรรมกับทางมูลนิธิฯ เพื่อหารายได้ส่วนหนึ่งเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย ซึ่งเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาโดยไม่ได้หวังผลกำไร สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-7661-4116,08-5884 -7787 ทั้งนี้ท่านสามารถของโอนเงินบริจาคเข้าบัญชีเลขที่ 102 -2-00125-4 ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชีมูลนิธิหมู่บ้านตะวันฉาย โดยแจ้งการโอน ทางโทรศัพท์หรือส่งสลิปการโอนทางโทรสารที่หมายเลข 0-7661-4116 ดร.ศุภลักษณ์ กล่าวในที่สุด
- “อโนชา พร็อพเพอร์ตี้” นักลงทุนภูเก็ต สวนกระแสแผ่นดินไหว ขยายการลงทุนเพิ่ม ผุดคอ...
- อบจ.ภูเก็ต มอบเงินอุดหนุนโครงการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬามวลชนและนันทนาการ จ.ภูเก็...
- ภูเก็ตยกระดับ up level ท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต จัดงาน “Phuket Business Matching”...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ภูเก็ตสีขาว สร้างพื้นที่ปล...
- อบจ.ภูเก็ต เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ประจำปี 2568 สมัยแรก (ครั้งที่ 2)...
- ยิ่งใหญ่ ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ มาอยู่ที่ งาน PHUKET RENOVATION EXHIBITIO...
- April 2025 (2)
- March 2025 (34)
- February 2025 (23)
- January 2025 (23)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)