มอ.ร่วมยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่งทางราง เทศบาลป่าตอง ผนึกกำลังพัฒนาเป็นเมืองเขียวอัจฉริยะ- ขนส่งเขียว
โพสเมื่อ : Wednesday, January 27th, 2021 : 8.51 am
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่งทางราง และ เทศบาลป่าตองพลิกฟื้นเศรษฐกิจสองแสนล้านหลังโควิดระบาด ผนึกกำลังร่วมมือพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองเขียวอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ – คมนาคมขนส่งเขียว ถ้าคนในพื้นที่เห็นด้วยพร้อมเดินหน้า
เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต เป็นประธานการลงนามข้อตกลงร่วมมือพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองเขียวอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวและด้านคมนาคมขนส่งเขียว ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทศบาลเมืองป่าตอง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด บริษัท พรีเซ้นต์ เทคโนโลยี จำกัด และ กฎบัตรสุขภาพ สมาคมการผังเมืองไทย พร้อมการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวและคมนาคมขนส่งสีเขียว ปัจจัยสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต โดยนายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด และการบรรยายสรุปกรอบคิดการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะ โดย นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง และนายภูวนารถ ยกฉวี รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด
รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุมกล่าวว่า การลงนามพัฒนาเมืองเขียวอัจฉริยะในครั้งนี้ เป็นไปตามเจตนารมณ์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนพลิกฟื้นเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ด้วยการเตรียมการวางแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวรองรับผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มใหม่ที่จะเข้ามายังจังหวัดภูเก็ตหลังจากการระบาดของโควิดลดลงและรัฐบาลได้เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย
ในการลงทุนระบบคมนาคมขนส่งเขียวนั้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดภูเก็ตที่ต้องการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางที่ไม่สร้างปัญหาสภาพแวดล้อม ตนเองเห็นด้วยที่เมืองป่าตองจะมีระบบขนส่งมวลชนระบบไฟฟ้าให้บริการเชื่อมต่อภายในพื้นที่ เป็นการลดมลภาวะและสร้างความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวรวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรเพื่อให้เทศบาลเมืองป่าตองและนักลงทุนเอกชนได้พัฒนาจนบรรลุวัตถุประสงค์
ด้านนายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด ได้ยืนยันความพร้อมการสนับสนุนการศึกษาเพื่อวางแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวและด้านคมนาคมขนส่งเขียว ว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ร่วมกับเทศบาลเมืองป่าตองและกฎบัตรไทยสำรวจลักษณะทางกายภาพพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เน้นพื้นที่เทศบาลเมืองป่าตอง เพื่อเตรียมแผนการลงทุนเคเบิลคาร์และชิงช้าสวรรค์พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เกี่ยวข้อง เช่น สกายวอร์กและลิฟท์แก้ว บนพื้นที่หลายบริเวณเพื่อให้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าชมทัศนียภาพมุมสูงของหาดป่าตองและพื้นที่โดยรอบ พบว่า เมืองป่าตองมีพื้นที่หลายบริเวณที่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้และมีศักยภาพระดับสูงในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัด
หลังจากการลงนามในวันนี้แล้ว เอเอ็มอาร์ เอเซีย จะร่วมกับเทศบาลเมืองป่าตองและกฎบัตรไทยกำหนดตำแหน่งที่ตั้งและเส้นทางของเคเบิลคาร์ ชิงช้าสวรรค์และสกายวอร์ก โดยจะนำข้อมูลที่ได้มารับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ให้ประชาชนชาวป่าตองและผู้ประกอบการในพื้นที่เป็นผู้เลือกตำแหน่งที่ตั้งและเส้นทางที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ สนับสนุนการประกอบการของผู้ประกอบการเดิม ไม่บดบังทัศนียภาพอันงดงามตามธรรมชาติของเมืองป่าตอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดและของประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ตนั้น เนื่องจาก เอเอ็มอาร์ เอเซีย ได้มีแผนที่จะศึกษาและพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้าหรือ EV Charger เพื่อติดตั้ง EV Charger ในพื้นที่เกาะภูเก็ต โดยจะศึกษาเชิงลึกเพื่อดำเนินการในพื้นที่ของเทศบาลเมืองป่าตองก่อนเป็นอันดับแรกในปี 2564 ส่วนระบบขนส่งมวลชนนั้น เอเอ็มอาร์ เอเซีย จะหารือเพิ่มเติมกับเทศบาลเมืองป่าตองและสำนักงานขนส่งจังหวัดเพื่อขออนุญาตเส้นทาง ซึ่งจะร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งมวลชนที่ดำเนินการอยู่แล้ว
รวมทั้งผู้ให้บริการรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซด์รับจ้างพิจารณาตำแหน่งจุดจอดรถหรือป้ายจอดรถที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ให้บริการเดิม สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความงดงามและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังเมืองป่าตอง สำหรับรูปแบบการให้บริการจะมีมาตรฐานเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่ เอเอ็มอาร์ เอเซีย ร่วมกับบีทีเอสให้บริการ ทั้งบริการบัตรโดยสารดิจิทัล ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ ที่จอดรถอัจฉริยะ หรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด
ขณะที่นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย ในฐานะกรรมการและเลขานุการกฎบัตรไทยและกฎบัตรสุขภาพให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ของการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจ เป็นการระดมทรัพยากรจากมหาวิทยาลัย เทศบาลและบริษัทผู้ลงทุนเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดให้กับจังหวัดภูเก็ต โดยกฎบัตรสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะเป็นผู้ประสานการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน การประสานหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ร่วมกันขับเคลื่อนการลงทุนทางเศรษฐกิจ โดยใช้ฐานการวิจัยองค์ความรู้ของกฎบัตรในการสร้างสรรค์งานออกแบบ นวัตกรรม และรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ของเมืองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและสภาวะ new normal ที่เกิดขึ้นหลังโควิด
คาดว่า ในเดือนพฤษภาคม 2564 หลังจากเทศบาลและบริษัทฯ ได้สรุปทางเลือกตำแหน่งที่ตั้งและเส้นทางของเคเบิลคาร์และระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าแล้ว กฎบัตรฯ จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพิจารณาเส้นทางและที่ตั้งอย่างละเอียด และให้เสียงส่วนใหญ่เป็นผู้สรุปรูปแบบการพัฒนา ตำแหน่งที่ตั้งและเส้นทาง ต่อจากนั้น จะเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนการขออนุญาต การออกแบบรายละเอียดและการเตรียมการก่อสร้าง ซึ่งจากการหารือไม่เป็นทางการ การลงทุนการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเทศบาลเมืองป่าตองและ EV Charger น่าจะเริ่มได้ก่อนในช่วงปลายปี 2564 กรณีที่ได้รับอนุญาตเส้นทางและประชาชนให้การสนับสนุน ส่วนการก่อสร้างเคเบิลคาร์และชิงช้าสวรรค์อาจต้องรอการประกาศใช้ผังเมืองรวมเมืองภูเก็ตฉบับใหม่ในช่วงต้นปี 2565 จึงจะสามารถดำเนินการขออนุญาตและก่อสร้างได้
สำหรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จังหวัดภูเก็ตจะได้รับจากการลงทุนนั้น จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า การพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นเมืองเขียวอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวและด้านคมนาคมขนส่งเขียวจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่งผลในเชิงบวกต่อการยกระดับทางเศรษฐกิจ การมีสุขภาพและคุณภาพที่ดีของประชาชน
- November 2024 (18)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)