พูลแมน ภูเก็ต พันวา ร่วมอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ฉลามกบ
โพสเมื่อ : Tuesday, July 21st, 2020 : 7.20 pm
พูลแมน ภูเก็ต พันวา จับมือมูลนิธิโอเชียน ฟอร์ ออล ร่วมอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ฉลามกบ พร้อมสืบสานโครงการ Planet 21 ในเครือแอคคอร์จัดกิจกรรม “เบบี้ ชาร์ค รีลิส แอนด์ ซันเดย์ บรันซ์”
เมื่อเร็วๆ นี้ โรงแรมพูลแมน ภูเก็ต พันวา บีช รีสอร์ท ร่วมกับมูลนิธิโอเชียน ฟอร์ ออล โดยความร่วมมือกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จัดงานเลี้ยงอาหารกลางวันการกุศล พร้อมปล่อยปลาฉลามกบกลับคืนสู่ทะเล บริเวณอ่าวตั้งเขน ซึ่งเป็นอ่าวที่ตั้งอยู่หน้าโรงแรมพูลแมน ภูเก็ต พันวา บีช รีสอร์ท แหลมพันวา ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โดยมี นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ปล่อยปลาฉลามกบ ร่วมกับนายพงศ์เฉลิม เฉลิมทรัพยากร เจ้าของโรงแรม นายวินเซนต์ เดลซอล ผู้จัดการทั่วไป นายเดวิด มาร์ติน ประธานมูลนิธิโอเชียน ฟอร์ ออล ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ ทั้งคนไทยและต่างชาติที่เข้าร่วมโครงการด้วยการซื้อบุฟเฟต์อาหารกลางวันเพื่อสนับสนุนกิจกรรมปล่อยฉลามกบ
สำหรับฉลามกบน้อยที่นำมาปล่อยในครั้งนี้ เป็นฉลามกบที่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล อนุบาลไว้จนถึงวัยและขนาดที่เหมาะสมที่จะปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ามันจะสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ตามวงจรชีวิตของฉลามกบ
กิจกรรมปล่อยปลาฉลามกบกลับคืนสู่ทะเลในครั้งนี้ เพื่อขยายพันธุ์และอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ และสืบสานปณิธานของกลุ่มโรงแรมในเครือแอคคอร์ ในโครงการ Planet 21 ซึ่งเป็นโครงการสำหรับช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้น
โดยภายในงานนอกจากจะมีการปล่อยลูกปลาฉลามกบที่ได้รับการอนุบาลจนถึงวัยที่สามารถปล่อยคืนสู่ทะเลแล้ว แขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานทุกท่านได้เพลิดเพลินกับบุฟเฟต์อาหารกลางวัน ซันเดย์ บรันซ์ ณ เอดจ์ บีช คลับ บริเวณสระว่ายน้ำของโรงแรม พร้อมทั้งกิจกรรมทางน้ำอื่นๆ ที่โรงแรมจัดเตรียมไว้ให้
รายได้ทุก ๆ 350 บาท จากการขายบัตรรับประทานอาหารราคา 1,300 บาท รวมทั้งรายได้จากการประมูลห้องพักโรงแรม และรายได้จากการขายเสื้อยืดในกิจกรรม เบบี้ ชาร์ค รีลิส แอนด์ ซันเดย์ บรันซ์ จะนำไปมอบให้แก่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน และ มูลนิธิโอเชียน ฟอร์ ออล เพื่อเป็นทุนสำหรับการวิจัยและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเลต่อไป
สำหรับฉลามกบ เป็นฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง ตามีขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ความยาวที่เคยพบสูงสุด 1 เมตร พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงที่อ่าวมะขามเช่นกัน ปลาฉลามกบสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในกลุ่มแนวปะการังน้ำตื้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีน้ำ ปลาฉลามกบก็สามารถมีชีวิตรอดได้สูงสุดถึง 12 ชั่วโมง
ปลาฉลามกบกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปู และปลาขนาดเล็กตามแนวปะการังเป็นอาหาร ปลาฉลามกบ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ มันยังเป็นสัตว์สำคัญที่การช่วยให้ระบบนิเวศสมดุล
- อบจ.ภูเก็ต ผุด “ศูนย์ฟอกเลือดด้วยไตเทียม” ขนาด 37 เตียง รองรับผู้ป่วย ไม่ต้องรอค...
- ได้นั่งแน่ รถบัส EV ของอบจ.ภูเก็ต ทดแทน รถโพถ้อง สีชมพู...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีเปิดประติมากรรม ศิลปะร่วมสมัย “ไอ้จุด” Lovel...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “สมุดภาพภูเก็ต”...
- อบจ.ภูเก็ต นำเครื่องจักรปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานหิน (ภัตตาคารวังปลาเดิม)...
- กระแสแรงเกินคาด! SUPALAI SENSE เขารัง ภูเก็ต ยอดขายทะลักวัน Pre-Sales กว่า 200 ล...
- November 2024 (18)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)