ป่าไม้เตรียมรื้อสิ่งปลูกสร้าง หาดนุ้ย – ฟรีดอม มูลค่ากว่าหมื่นล้านนำพื้นที่คืนรัฐ
โพสเมื่อ : Sunday, May 26th, 2019 : 5.19 pm
กรมป่าไม้ ลงพื้นที่ตรวจที่ดิน “หาดนุ้ย” จ.ภูเก็ต สั่งรื้อสิ่งปลูกสร้าง หาดนุ้ย – ฟรีดอม มูลค่านับหมื่นล้าน ใน 2 เดือน นำพื้นที่กลับมาให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
วันนี้ (26 พ.ค.62) ที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ภก. 2 (ภูเก็ต) ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วย นายวีระพงษ์ พลธิรักษา ผู้ตรวจราชการสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.),พันเอกพงษ์เพชร เกษสุภะ หัวหน้าชุดศูนย์ประสานการปฏิบัติการที่ 4 (ศปป.4) กอ.รมน, นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ผู้อำนวยการสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ ,นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา หัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร , นาวาเอกบวร พรมแก้วงาม รองผอ.รมน.ภูเก็ต, นายวินัย ชิดเชี่ยว กำนันตำบลกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต, ชุดปฏิบัติการศูนย์ประสานการปฏิบัติการที่ 4 (ศปป.4), กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.), เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.), เจ้าหน้าที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม่ที่ 12 สาขากระบี่, เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ภก.2 (ภูเก็ต) กอ.กรมน.ภูเก็ต, ส.ป.ก.ภูเก็ต,ตำรวจ กก.5บก.ปทส., เจ้าหน้าที่ทหารเรือ, ทหารบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีหาดนุ้ย ต.กะรน จ.ภูเก็ต หลังหน่วยล่วงหน้าได้ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังมีการร้องเรียนว่ามีการบุกรุก
หลังจากนั้นทั้งหมดได้เดินทางด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อ เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 7 กิโลเมตร โดยในวันนี้ ได้มีการลงตรวจสอบพื้นที่ทั้งหมด 3 จุด ซึ่งสองจุดแรกเป็นจุดที่ ส.ป.ก..ภูเก็ตได้มีการพิจารณาและยกเลิกสิทธิ์ทำกินในที่ดินดังกล่าวมาแล้วเนื่องจากพบว่าไม่มีการทำประโยชน์และผู้แจ้งสิทธิ์ ส.ป.ก.ขาดคุณสมบัติ โดยหนึ่งในนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ผาหินดำ และจุดที่ 3 คือ บริเวณที่เรียกว่า Dragon cape ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 142 ไร่ มีการปลูกพืช เช่น ปาล์มนำมัน กล้วย และ กวาง ซึ่งจุดดังกล่าว อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและเตรียมบังคับใช้มาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวภาย หลังการลงตรวจสอบพื้นที่ ว่า กรมป่าไม้ได้รับการร้องเรียนจากกำนันในพื้นที่ ว่า มีผู้เข้ามาบุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขานาคเกิด ซึ่งค่อนข้างมีความสลับซับซ้อน ตั้งแต่มีการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และ ประกาศเขตพื้นที่ ส.ป.ก. กระทั่งมีการประกาศเพิกถอน รวมถึงการครอบครองพื้นที่ต่อเนื่องมา ก่อนที่จะลงมาตรวจสอบในครั้งนี้ได้มีการ จับกุมรถแบ็คโฮที่เข้ามาปรับที่ดินในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ แต่ในรายละเอียดของการยึดถือครอบครองจะมีจำนวนมากกว่านั้น และได้มีการร้องเรียนไปยังศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า กรมป่าไม้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ส่งชุดพยัคฆ์ไพรลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งทหารบก ทหารเรือ และตำรวจ รวมถึง ส.ป.ก.ภูเก็ต
ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ทั้งฝ่ายปกครอง กำนัน หน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฝ่ายทหารและตำรวจมาช่วยกันตรวจสอบ ถือเป็นการทวงคืนพื้นที่ป่านอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งถือเป็นพื้นป่าที่มีมูลค่ามหาศาล และทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน ซึ่งในอนาคตมองว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการประกาศเป็นพื้นที่ป่าชุมชน ที่จะต้องมีการบริหารจัดการเป็นป่าอนุรักษ์โดยชุมชนเอง มีระเบียบแบแผนและไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าจะเกิดความยั่งยืนในการประโยชน์ในพื้นที่
เบื้องต้นในส่วนที่เป็นคดีแล้วจะเร่งรัดติดตาม และ ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาช่วยตรวจสอบ เพราะถือเป็นคดีใหญ่ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก ส่วนที่เหลือที่จะต้องมีการขยายผลในส่วนที่เป็นพื้นที่ ส.ป.ก.ได้มีการพูดคุยกับทางผู้ตรวจฯ ส.ป.ก. ว่า จะต้องมีการคัดกรองและตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมในเรื่องการใช้ประโยชน์ รวมไปถึงการพิสูจน์การครอบครองตามสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ในแต่ละแปลง โดยมีคณะทำงาน ซึ่งมีผู้ว่าฯ เป็นประธาน ก็จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมในเรื่องของแนวทางการคัดกรองและแก้ไขปัญหา รวมถึงแนวทางในการกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นป่าชุมชนในอนาคต นายอรรถพล กล่าว
ขณะที่นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ชุดพยัคฆ์ไพร กล่าวว่า พื้นที่ ที่มีปัญหาบุกรุกครอบครองและข้อพิพาทมีประมาณ 600 – 700 ไร่ ซึ่งเป็นจุดที่มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และ มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาก มีประวัติศาสตร์การแย่งชิงกันมานาน โดยเฉพาะเรื่องของการร้องเรียน ซึ่งการทำงานในครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จในการบูรณาการความร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะใครก็แล้วแต่ที่จะมายึดถือครอบครองโดยไม่มีอะไรรองรับหรือผิดก็ต้องถอยออกไป
โดยขณะนี้มีคดีที่เกี่ยวข้องหลายคดี ตั้งแต่คลับเฮ้าส์ บริเวณหาดนุ้ย จำนวน 1 คดี, คดีบุกรุก 2 ไร่ และ สามารถจับกุมรถแบ็คโฮได้ และ ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา ประมาณ 140 ไร่ ซึ่งต้องดำเนินการให้ถึงที่สุด และมีการขยายผลถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาก็ไม่จบ เนื่องจากที่ดินบริเวณนี้มีมูลค่าค่อนข้างมากนับเป็นหมื่นล้านบาท จึงไม่ควรตกเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง
นายชีวะภาพ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการในพื้นที่ ที่เป็นข้อพิพาทในบริเวณนี้ที่จะเห็นผลในเร็วๆนี้ มี 2 พื้นที่ ซึ่งอธิบดีฯ ได้สั่งการให้ดำเนินการให้จบ คือ หาดฟรีด้อมกับหาดนุ้ย โดยอธิบดีฯ จะมีการลงนามในมาตรา 25 ตามระเบียบป่าสงวนแห่งชาติรื้อถอนสิ่งปลูกที่อยู่ใน 2 พื้นที่ดังกล่าว และนำพื้นที่กลับมาให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่มีใครแสดงตนเป็นเจ้าของหรือมีการเรียกเก็บเงินหรือมีการนำผู้มีอิทธิพลมาข่มขู่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากจะต้องเสียเงินก็ต้องมีระเบียบที่ถูกต้อง รอไม่เกิน 2 เดือนจะเห็นผลแน่นอน
ด้านนายวีระพงษ์ พลธิรักษา ผู้ตรวจราชการสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า เลขา ส.ป.ก.ได้ให้นโยบายมาแล้วว่าให้มาร่วมตรวจสอบและหากพบว่า พื้นที่ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบ มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง หรือให้สิทธิ์ไปแล้วไม่ทำประโยชน์ จะมีการนำเสนอคณะกรรมการฯ จังหวัด เพื่อพิจารณา และหากพบว่า ยังมีพื้นที่เป็นป่าก็จะกันคืนให้กับกรมป่าไม้ ซึ่งในส่วนของ ส.ป.ก.ในบริเวณนี้ที่เกี่ยวข้องมีประมาณ 43 ไร่ ซึ่งมีบางส่วนที่มีการถอน ส.ป.ก.ไปบ้างแล้ว
ขณะที่นายวินัย ชิดเชี่ยว กำนันตำบลกะรน กล่าวว่า ตนเป็นคนในพื้นที่ จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน และ จากการร้องเรียนที่ผ่านมาการปฏิบัติงานของคนในพื้นที่ก็ค่อนข้างหนักใจ ซึ่งถือว่าโชคดีที่อธิบดีกรมป่าไม้ลงพื้นที่ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในการรักษาพื้นที่ป่า การให้แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงแนวทางในการอนาคตที่ให้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามแนวทางของป่าชุมชนตามระเบียบกฎหมาย
โดยพื้นที่ทั้งหมดถูกบุกรุกจากคนภายในนอก โดยเฉพาะพื้นที่หาดนุ้ย นับเป็นพื้นที่ที่มีปัญหามานาน ทั้งการยิงข่มขู่ การทำร้ายร่างกาย การเรียกเก็บเงิน จนเป็นที่หวาดกลัวของคนในพื้นที่ ซึ่งการบูรณาการความร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการคืนพื้นที่ให้กับประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งแม้เราต้องการให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ก็ต้องใช้เวลา เพราะมีเรื่องของข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง หากสำเร็จก็จะเป็นการยกระดับการท่องเที่ยวของภูเก็ตให้สูงยิ่งๆ ขึ้น
- สิ้นสุดการรอคอย! ต้นปี 68 นี้ คนภูเก็ต-นักท่องเที่ยว ได้นั่งแน่รถโดยสาร EV Bus อ...
- เปิดใช้แล้ว! อาคารศูนย์อบรมจริยธรรมอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต...
- อาณา ดีเวลอปเมนท์ เปิดตัว “SERRANA” วิลล่าพรีเมี่ยมย่าน “ม่าหนิก” เฟสแรก 20 ยูน...
- กสิกรไทย เปิดตัว รถยนต์ไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ “FX EV Car” ที่ภูเก็ต...
- โชว์เรื่องราวความรักแบบฟินๆที่เดียวในโลก ที่อควาเรียภูเก็ต...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมกับ ทต.ศรีสุนทร สำรวจพื้นที่เพื่อปรับปรุงถนน ซ.บ้านม่าหนิก-กะทู้ ...
- December 2024 (2)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)