ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต แหว่งกว่า 1 ไร่ อธิบดีสั่งทำแนวเขตด่วน
โพสเมื่อ : Wednesday, May 23rd, 2018 : 4.34 pm
แนวป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต แหว่งไปไหน 1 ไร่เศษ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สั่งกั้นเขตให้ชัด ต้องเสร็จภายใน 2 อาทิตย์ ป้องกันการบุกรุกทำลาย เร่งจัดโครงการปลูกป่าทดแทน ระบุมีทั้งฆ่า ถอน ส่วนไอ้โม่งเป็นใครยังไม่ทราบ
จากกรณีกลุ่มกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนอ่าวกุ้ง ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของป่าชายเลน และ แนวปะการังในพื้นที่บ้านอ่าวกุ้ง หลังบริษัทเอกชน มีแผนที่จะพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ แต่มีพื้นที่ ทิศเหนือ ติดต่อกับอ่าวกุ้ง ทิศตะวันออก ติดกับพื้นที่ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งและคลองอ่าวกุ้ง เนื่องจากชาวบ้านมีความเป็นห่วงผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะการขุดร่องน้ำเพื่อให้เรือขนาดใหญ่เข้าไปจอดในมารีน่าได้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด ทางคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภูเก็ต ได้นำปัญหาเข้าสู่การหารือ ในการประชุมคณะกรรมการ ฯ ครั้งที่ 2 / 2561 ที่มี นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในการประชุม จัดขึ้นที่โรงแรมภูเก็ต เมอร์ลิน ในวาระ เรื่องเสนอพิจารณา 4.1 การรับฟังความคิดเห็นกรณีร้องเรียนให้มีการบริหารจัดการและอนุรักษ์แนวปะการังบริเวณบ้านอ่าวกุ้ง
โดยมีการนำเสนอข้อมูลทั้งในเรื่องของพื้นที่ป่าชายเลน และ การสำรวจทรัพยากรทางทะเลบริเวณบ้านอ่าวกุ้ง สำหรับในส่วนของพื้นที่ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง นายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 (สบทช. 9) กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง จากการสำรวจพบว่าเป็นพื้นที่ป่าชายเลนบ้านอุ้งกุ้งเป็นป่าชายเลนตามมาตร 4 ( 1) คือ เป็นทั้งป่าชายเลนตามสภาพ และ ป่าชายเลนตามกฎหมาย รวมทั้งมีการขีดแนวเขตป่าชายเลนตามมติ ครม. ซึ่งการจะขออนุญาตขุด หรือ กระทำการใดๆ จะต้องมีการขอผ่อนผันมติ ค.ร.ม..ก่อน และการขุดก็จะต้องขออนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก โดยประเด็นดังกล่าวได้มีการทำความเข้าใจกับชาวบ้านไปแล้ว
อย่างไรก็ตามจากสภาพปัจจุบันของพื้นที่ป่าชายเลนโดยเฉพาะจุดที่อยู่หน้าโครงการ ฯ พบว่า มีรอยแหว่งไปประมาณ 1 ไร่เศษ ซึ่งจากการตรวจสอบในแผ่นที่ ก่อนหน้านี้พบว่าแนวป่าชายเลนบริเวณดังกล่าว มีต้นโกงกางขึ้นเต็มบริเวณและเป็นแนวยาวไม่เหมือนสภาพปัจจุบัน ที่มีรอยแหว่งและเป็นช่องว่างขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตัวเองเมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้สั่งการให้ทาง สำนักงาน สบทช.9 จัดทำแนวเขตป่าชายเลน และติดป้ายประกาศ ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลาย และแผ้วถางป่าชายเลน ซึ่งการทำแนวเขตและติดป้ายจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์นี้ นอกจากนั้นให้จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ที่ถูกทำลายโดยด่วน ส่วนกรณีใครเป็นคนขุดทำลายแผ้วถางขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการตรวจยึดพื้นที่ดังกล่าวคืนมาแล้วและมีการแจ้งความดำเนินคดีไว้ รวมทั้งนำป้ายไปติดเพื่อประกาศให้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าชายเลนห้ามีการบุกรุกทำลาย แต่ไม่วายยังมีการทำลายป้ายทิ้ง
ขณะที่ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง ระบุ ว่า ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวมากว่า 30 ปี จนได้รับรางวัลธงพระราชทาน เมื่อปี 2545 หลังจากนั้นมีการอนุรักษ์และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติม แต่เมื่อปี 2555 เป็นต้นมาพบว่าป่าชายเลนในบริเวณดังกล่าวก็เริ่มถูกแผ้วถาง ทำลาย ถูกฆ่าด้วยยาฆ่าตอ ถูกถอน จนปัจจุบันพบว่ามีการทำลายไปประมาณ 1 ไรเศษ จนทำให้เกิดสภาพรอยแหว่งขึ้นมา
แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าตรวจยึดพื้นที่และติดป้ายประกาศแต่ก็ยังมีการทำลายอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้แต่ป้ายของทางราชการยังถูกทำลาย แต่ล่าสุดทางสถาบันการศึกษาก็ได้ลงพื้นที่ปลูกป่าชายเลนอีกครั้ง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะเหลือรอดอีกเท่าไหร่ เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำลายป่าชายเลนดังกล่าว เพราะยังหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป็นมาตรการหรือประกาศเป็นเขตคุ้มครองพื้นที่ป่าชายเลนให้ชัดเจน เพื่อรักษาป่าชายเลนให้คงอยู่สืบไป
ขณะที่นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้อยากให้มีการพูดถึงเรื่องของการกำหนดมาตรการในการป้องกันเพราะเชื่อว่าต่อไปปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบ้านอ่าวกุ้ง แต่จะเกิดขึ้นในอีกหลายๆที่ เพราะการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวทางทะเลในจังหวัดภูเก็ตยังมีอีกมาก ถ้าสามารถพัฒนาเป็นเขตคุ้มครองที่ชัดเจนออกมาได้ คนที่จะเข้าไปซื้อที่ดินเพื่อลงทุนทำโครงการอะไรในพื้นที่ที่ติดกับป่าชายเลนก็สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ ว่าซื้อแล้วจะสามารถพัฒนาอะไรได้มากน้อยแค่ไหน หรือสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะพื้นที่ป่าชายเลยของภูเก็ตมีครอบคลุมหลายพื้นที่ จึงอยากให้มีการประกาศเขตคุ้มครองที่จัดเจนขึ้นมาซึ่งเรื่องนี้จะนำเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
- วันแรก! ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายก อบจ.ภูเก็ต 2 คน และสมาชิกสภา อบจ.ภูเก็ต 55 คน...
- อบจ.ภูเก็ต ต้อนรับคณะเทศบาลเมืองกะทู้ เข้าศึกษาดูงานโรงแปรรูปวัสดุอินทรีย์ระบบเต...
- เปิดรับสมัครแล้ว นายกและส.อบจ.ภูเก็ต วันแรกคึกคัก แชมป์เก่า “ทีมภูเก็ตหยัด...
- โฮมโปร โกยกำลังซื้อไฮเอนด์ เปิด “โฮมโปร เชิงทะเล” กลางเกาะภูเก็ต มอบความคุ้ม-สร้...
- เปิดแล้ว “Chic Republic” สาขา ภูเก็ต ว้าวมาก!! ตอบโจทย์ ทุกไลฟ์สไต...
- พุ่งไม่หยุดอสังหาฯภูเก็ต ผุดอีกโครงการ “Infinity Life Club” คอมมูนิตี้รองรับคนวั...
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)