ปภ.ติดตั้งทุ่นเตือนภัย แทนของเดิม ในทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดี ยสร้างความเชื่อมั่น
โพสเมื่อ : Tuesday, November 15th, 2022 : 4.29 pm
สร้างความเชื่อมันระบบเตือนภัยสึนามิ ! ปภ. ปล่อยเรือ ติดตั้งทุ่นเตือนภัย ใหม่ 2 ชุด แทนทุนเดิม ใน มหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ยืนยันระบบเตือนภัยล่องหน้าได้ 2 ชั่วโมง
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (15 พ.ย.) ที่ท่าเรือน้ำลึก ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานในการปล่อยเรือวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน โดยมี นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กงสุลจากประเทศต่าง ๆ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำหรับการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในครั้งนี้ เป็นการวางทดแทนทุ่นเดิมในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ทั้งนี้การติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ถือเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิ เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใต้ทะเลในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชน และสถานที่ท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดียเป็นอย่างมาก ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการป้องกัน และกำหนดมาตรการลดผลกระทบจากคลื่นสึนามิให้มีประสิทธิภาพ รัฐบาล โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบวิเคราะห์คาดการณ์คลื่นสึนามิและระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) จึงได้ติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ไว้ 2 จุด จุดที่ 1 ติดตั้งไว้ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 965 กิโลเมตร และจุดที่ 2 ติดตั้งไว้ในทะเลอันดามัน ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กิโลเมตร ซึ่งการดำเนินการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในครั้งนี้ เป็นการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิชุดใหม่ ทดแทนทุ่นเดิม ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน เพื่อให้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิมีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพในการส่งต่อข้อมูลไปยังระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศ
“การวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ถือเป็นกลไกในการเตือนภัยสึนามิล่วงหน้าให้ประชาชน เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกกับข่าวลือและได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งให้ประชาชนสามารถเตรียมความพร้อมในการอพยพ หนีภัยสึนามิได้อย่างทันท่วงที และเป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตของประชาชน ซึ่งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิที่ติดตั้งในครั้งนี้ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ถ้าหากสามารถช่วยลดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
อย่างไรก็ตาม ขอฝากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรต่าง ๆ สถานประกอบการ อาสาสมัคร เครือข่ายชาวประมง และประชาชนช่วยสอดส่องดูแลรักษาระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ รวมถึงหอเตือนภัย และอุปกรณ์เตือนภัยในพื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายบุญธรรม กล่าว
สำหรับการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ทั้ง 2 ตัวในครั้งนี้ เรือจะออกจากท่าเรือน้ำลึก จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 15 พ.ย.2565 เวลา 15.00 น. และ จะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จในวันที่ 28 พ.ย.2565 รวม 14 วัน ซึ่งการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในประเทศไทย ได้ดำเนินการติดตั้งมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.2549 ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการแจ้งเตือนภัยสึนามิกับองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) และได้รับมอบทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิจาก NOAA ประกอบด้วย
ทุ่นลอยพร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Surface Buoy) และชุดอุปกรณ์วัดความดันใต้ท้องทะเล (Bottom Pressure Recorder : BPR) โดยติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 965 กิโลเมตร ซึ่งการทำงานของทุ่นจะติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ และส่งผ่านสัญญาณเสียงไปสู่ทุ่นลอยและส่งข้อมูลไปยังดาวเทียม จากนั้นมีการส่งสัญญาณมาที่สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน และประมวลผลร่วมกับทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของนานาประเทศ แล้วส่งข้อมูลกลับมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อออกประกาศแจ้งเตือนประชาชน
ต่อมา เมื่อเดือนมกราคม 2560 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิเพิ่มเติมเป็นจุดที่ 2 ในทะเลอันดามัน โดยติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กิโลเมตร ทั้งนี้ ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิทั้ง 2 จุด มีการบำรุงรักษาตามมาตรฐานของผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 2 ปี เพื่อให้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิมีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ปภ. ยังได้บูรณาการด้านการจัดการสาธารณภัยให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ มีหน่วยเผชิญเหตุที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีหน่วยปฏิบัติระดับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา ดูแลพื้นที่จังหวัดสตูล และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ภูเก็ต ดูแลพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงได้อย่างเนื่อง การติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามันถือเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิ เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย และประชาชนในภูมิภาครอบมหาสมุทรอินเดีย มีการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยสึนามิและอพยพ
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังกล่าวถึงความพร้อมของหอเตือนภัยในฝั่งอันดามันทั้ง 6 จังหวัด ว่า หอเตือนภัยที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทั่วทั้งอันดามันนั้น ทางกรมได้มีการทดสอบระบบทุกวันพุธ หากหอใดมีปัญหาไม่สามารถส่งสัญญาณได้จะมีการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
- อบจ.ภูเก็ต ผุด “ศูนย์ฟอกเลือดด้วยไตเทียม” ขนาด 37 เตียง รองรับผู้ป่วย ไม่ต้องรอค...
- ได้นั่งแน่ รถบัส EV ของอบจ.ภูเก็ต ทดแทน รถโพถ้อง สีชมพู...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีเปิดประติมากรรม ศิลปะร่วมสมัย “ไอ้จุด” Lovel...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “สมุดภาพภูเก็ต”...
- อบจ.ภูเก็ต นำเครื่องจักรปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานหิน (ภัตตาคารวังปลาเดิม)...
- กระแสแรงเกินคาด! SUPALAI SENSE เขารัง ภูเก็ต ยอดขายทะลักวัน Pre-Sales กว่า 200 ล...
- November 2024 (18)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)