ฉลุย! ชาวบ้านเห็นด้วยขุดลอกร่องน้ำอ่าวกุ้ง พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบ-ยันอยู่ห่างจากจุดพบปะการัง
โพสเมื่อ : Wednesday, February 9th, 2022 : 4.18 pm
ชาวบ้านป่าคลอก จ.ภูเก็ต ยกมือเห็นด้วยขุดลอกร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) ระยะทาง 1.2 กม. ตามแบบที่กรมเจ้าท่านำเสนอ พร้อมมาตรการป้องกันผลกระทบปะการังและป่าชายเลน แก้ปัญหาล่องน้ำตื้นเขินเรือเข้าออกไม่ได้ ยันอยู่ห่างจากจุดพบปะการัง มีร่องน้ำจริง ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์เดินหน้าคัดค้าน
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (9 ก.พ.) สำนักงานพัฒนาและบำรุงทางน้ำที่ 3 กรมเจ้าท่า ร่วมกับ เทศบาลตำบลป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นก่อนดำเนินการปฏิบัติงานขุดลอกร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) หมู่ที่ 9 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยมี นายจรัล ดำเนินผล รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงทางน้ำที่ 3 นายปันยา สำเภารัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก นายณชพงศ ประนิตย์ เจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ประมงจังหวัดภูเก็ต ฝ่ายปกครอง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวประมงพื้นบ้าน และประชาชนในพื้นที่กว่า 180 คน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลป่าคลอก ทั้งนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชาวประมง ประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงรูปแบบการขุดลอกล่องอ่าวกุ้ง (ท่าเล) ที่ทางกรมเจ้าท่าได้ออกแบบแล้วเสร็จ
นายจรัล ดำเนินผล รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงทางน้ำที่ 3 กรมเจ้าท่า ชี้แจงถึงที่มาของโครงการขุดลอกล่องน้ำบ้านอ่าวกุ้ง (ท่าเล) ในที่ประชุม ว่า เทศบาลตำบลป่าคลอกได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ให้เข้ามาดำเนินการขุดลอกล่องน้ำดังกล่าว เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาล่องน้ำท่าเลตื้นเขินเรือไม่สามารถเข้าออกได้ และได้ทำหนังสือมายังเทศบาลตำบลป่าคลอก ทางเจ้าท่าภูเก็ตจึงได้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการในระดับจังหวัดภูเก็ต ที่มีผู้ว่าฯ เป็นประธาน และได้มีหนังสือถึงกรมเจ้าท่าขอให้ออกแบบและเข้าขุดลอกร่องน้ำดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่
ทางกรมเจ้าท่าจึงได้ออกแบบการขุดลอกร่องน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ และนำมารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ว่าเห็นด้วยตามแบบที่กรมเจ้าท่ากำหนดหรือไม่ หากเห็นด้วยตามรูปแบบที่กรมเจ้าท่านำเสนอ จะได้ของบประมาณมาดำเนินการขุดลอกร่องน้ำต่อไป
นายจรัล กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบการขุดลอกร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) นั้น ได้ออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ขนาดของเรือที่ใช้ล่องน้ำ และไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยตามแบบจะมีการขุดลอกร่องน้ำระยะทาง 1,200 เมตร ด้านนอกกว้าง 30 เมตร ด้านในที่ติดชายฝั่งกว้าง 15 เมตร เพราะในส่วนด้านในนั้นจะอยู่ติดกับป่าชายเลน ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับป่าชายเลน มีความลาดเอียง 1:5 ขุดลึก 2 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับเรือได้ตลอดเวลา และรองรับเรือที่กินน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร เพราะเรือที่ใช้ร่องน้ำนี้จะเป็นเรือประมงส่วนใหญ่ และในอนาคตหากมีการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวเกิดขึ้น เรือสปีดโบต หรือ เรือที่กินน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร จะสามารถใช้ร่องน้ำนี้ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการขุดลอกร่องน้ำท่าเลแห่งนี้ หลายหน่วยงานได้กังวลในเรื่องของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในส่วนของป่าชายเลน ปะการัง รวมไปถึงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดังนั้นจึงได้กำหนดมาตรการในการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไว้ดังนี้ คือ ในส่วนของดินและทรายที่เกิดจากการขุดนั้น จะนำขึ้นมาบนฝั่งทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 97,000 ลบ.ม และในการดูดขึ้นมาบนบกนั้นจะมีการทำแนวกันดินทั้งหมดเพื่อไม่ให้ตะกอนดินไหลลงทะเลและพื้นที่อื่นๆ รวมไปถึงระหว่างการขุดลอกจะมีการติดตั้งม่านดักตะกอนเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของตะกอนดิน ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปะการัง ที่อยู่ห่างจากจุดขุดลอก 1.2 กม. และจากการสอบถามไปยังหน่วยงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไม่มีปะการังและหญ้าทะเล อยู่ในจุดที่ขุดลอกแต่อย่างใด
ส่วนกรณีที่กลุ่มอนุรักษ์อ่าวกุ้งได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการขุดลอกร่องน้ำดังกล่าว เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อปะการัง และระบุว่าไม่มีร่องน้ำตามธรรมชาติอยู่จริง นายจรัล ชี้แจ้งว่า ข้อกังวลดังกล่าว ทางกรมเจ้าท่าได้ทำหนังสือสอบถามไปยังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และได้รับหนังสือตอบกลับมาว่า พื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่จะขุดลอกไม่มีหญ้าทะเลแต่อย่างใด และในส่วนของปะการังนั้นจะอยู่ห่างจากจุดขุดลอก 1.2 กม.ซึ่งจากข้อกังวลดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการนำดินขึ้นมาบนฝั่งทั้งหมด รวมไปถึงมาตรการในการป้องกันอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่เกิดผลกระทบและหากกระทบก็ให้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวและประชาชนที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ ต่างเห็นด้วยที่จะให้มีการขุดลอกร่องน้ำและเห็นว่าแบบที่ทางกรมเจ้าท่านำเสนอนั้นเหมาะสมกับพื้นที่แล้ว และต้องการให้ทางเจ้าท่าเร่งรัดในการขุดลอกเพราะประชาชนเดือดร้อนมานานแล้ว
ด้านนายปันยา สำเภารัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก กล่าวว่า ชาวประมงในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนมานานแล้วจากที่ไม่มีสามารถใช้ล่องน้ำท่าเลในการนำเรือเข้าฝั่งได้เนื่องจากร่องน้ำตื้นเขิน จึงได้ทำหนังสือมายังเทศบาลตำบลป่าคลอกในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางเทศบาลจึงได้ทำหนังสือถึงเจ้าท่าฯภูเก็ตเพื่อให้เข้าดำเนินการขุดลอกร่องน้ำเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน ที่ต้องการใช้ร่องน้ำดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 30 ลำ และในอนาคตหากมีการขุดล่องน้ำแล้วทางเทศบาลได้วางแผนที่จะพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว รวมไปถึงเข้าไปดูแลทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งเทศบาลได้ตระหนักในเรื่องนี้อยู่แล้ว ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ในขณะที่ทางกรมเจ้าท่าได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนในพื้นที่ ในส่วนของกลุ่มที่ออกมาคัดค้านการขุดลอกร่องน้ำดังกล่าว ได้เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ คัดค้านการขุดลอกร่องน้ำดังกล่าว เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อปะการังและป่าชายเลน
- สิ้นสุดการรอคอย! ต้นปี 68 นี้ คนภูเก็ต-นักท่องเที่ยว ได้นั่งแน่รถโดยสาร EV Bus อ...
- เปิดใช้แล้ว! อาคารศูนย์อบรมจริยธรรมอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต...
- อาณา ดีเวลอปเมนท์ เปิดตัว “SERRANA” วิลล่าพรีเมี่ยมย่าน “ม่าหนิก” เฟสแรก 20 ยูน...
- กสิกรไทย เปิดตัว รถยนต์ไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ “FX EV Car” ที่ภูเก็ต...
- โชว์เรื่องราวความรักแบบฟินๆที่เดียวในโลก ที่อควาเรียภูเก็ต...
- อบจ.ภูเก็ต ร่วมกับ ทต.ศรีสุนทร สำรวจพื้นที่เพื่อปรับปรุงถนน ซ.บ้านม่าหนิก-กะทู้ ...
- December 2024 (2)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)