คิดแบบ “ปราบ กี่สิ้น” …ความสุขที่หายไปของคนภูเก็ต

โพสเมื่อ : Tuesday, September 13th, 2016 : 8.54 pm

 

ความสุขที่หายไปของคนภูเก็ต ถึงเวลาที่“ผู้บริหารจังหวัด” ต้องมาคิด มาทบทวนดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับจังหวัดภูเก็ต ?? กับแนวคิด แบบ “ปราบ กี่สิ้น”

 

นี้คือการคิด แบบ “ปราบ ” หรือ นายปรีชาวุฒิ กี่สิ้น นักธรุกิจชื่อดังในป่าตอง  “ภูเก็ต”.. ได้ชื่อว่าเป็น แหล่งท่องเที่ยวระดับโลกเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวซึ่งเหนื่อยล้าและคร่ำเครียดจากหน้าที่การงานจากทุกมุมโลกเดินทางมาเพื่อใช้เวลาที่จำกัดของ “วันหยุด” มาสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม วิถีชีวิตชาวบ้านที่เอื้ออาทรของคนภูเก็ต เพื่อเติมพลังให้ชีวิต เพื่อกลับไปทำงานอย่างสดชื่นขึ้นอีกครั้ง ข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาจังหวัดภูเก็ตเฉลี่ยปีละ 13 ล้านคน สร้างรายได้เข้าพื้นที่ปีละกว่า 250,000 ล้านบาท ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ชี้ให้เห็นว่า “ภูเก็ต” เติบโตอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

 

แต่แล้ว แทบจะกลับตัวไม่ทัน เมื่อผลสำรวจเรื่อง “ความสุขมวลรวมคนไทยใน 77 จังหวัดของประเทศ” โดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ระบุว่า “ภูเก็ตรั้งท้ายในลำดับที่ 77 ประชาชนมีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 5.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน” ชาวภูเก็ตมีความสุขน้อยกว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความรุนแรงในพื้นที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวันเสียอีก !! สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องที่ “ผู้บริหารจังหวัด” ต้องมาคิด มาทบทวนดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับจังหวัดภูเก็ต ?? เมื่อมองสภาพปัญหากันแบบเจาะลึกพบว่า แม้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง แต่โครงสร้างของการกระจายรายได้ในจังหวัดภูเก็ต ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับภาพรวมของประเทศนั่นคือ “รวยกระจุก จนกระจาย” พูดง่ายๆ การกระจายรายได้ที่มาจากการเติบโตต่อเนื่องของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ยังขาดความสมดุล

12369162_10206829162262640_2200582172038175763_n

คนภูเก็ตส่วนหนึ่ง สามารถสร้างตัวสร้างฐานะจนร่ำรวย แต่คนจำนวนมากกว่าหลายเท่าตัวกลับต้องจำทนเผชิญกับสภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันมีที่มาจากสาเหตุเดียวกันนั่นคือ การเติบโตของการท่องเที่ยวนั่นเอง !! การเติบโตขึ้นแต่ละหมื่นล้าน แสนล้าน ของธุรกิจท่องเที่ยวภูเก็ต เราไม่ได้ได้มาเปล่าๆ แต่เราต้องแลกมาด้วยบางสิ่งบางอย่าง !! กรณีการจัดระเบียบชายหาดในจังหวัดภูเก็ต บ่งชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ผมกล่าวถึง แน่นอนว่าการจัดระเบียบทำให้เราได้ชายหาดที่สวยงามกลับคืนมาเป็นของทุกๆ คน โดยเฉพาะสำหรับ “นักท่องเที่ยว” ซึ่งเราต้องเอาอกเอาใจกันให้เต็มที่อยู่แล้ว แต่เหรียญอีกด้านหนึ่งของเรื่องนี้ มีคนท้องถิ่นมากมายเท่าไหร่ ที่ต้องสูญเสียรายได้ เสียอาชีพ ที่ทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคบุกเบิกการท่องเที่ยว

 

การสูญเสีย รายได้ และอาชีพหลัก ของคนท้องถิ่น มันไม่ได้ส่งผลต่อคนเพียงคนเดียว หากแต่ผลของมันกระทบไปยังครอบครัวซึ่งมีอีกหลายชีวิตต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ผมคงไม่ลงลึกไปในรายละเอียด ผมไม่ได้ขัดแย้งกับการพัฒนาประเทศ แต่อยากชี้ให้เห็นว่า “การพัฒนาที่มองไม่เห็นคนเล็กคนน้อย ที่เป็นเจ้าของและเคยร่วมปกป้องทรัพยากรที่กลายเป็นต้นทุนสำคัญของการท่องเที่ยวในวันนี้” นี่อาจเป็นคำตอบว่า ทำไมดัชนีความสุขมวลรวมของคนภูเก็ตจึงอยู่ในลำดับสุดท้ายของประเทศ