ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) “RT” เตรียมไอพีโอ 300 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
โพสเมื่อ : Friday, October 9th, 2020 : 2.13 pm
ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) “RT” เตรียมไอพีโอ 300 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ระดมทุนพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เครื่องมือเครื่องจักร ก่อสร้างโรงซ่อมและอาคารเก็บวัสดุแห่งใหม่ เดินสายโรดโชว์ 14 จังหวัด
เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บมจ.ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง หรือ RT เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ RT ในวันที่ 30 กันยายน 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยหลังจากนี้ บริษัทเตรียมเดินหน้านำเสนอข้อมูลธุรกิจของบริษัท (โรดโชว์) พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป โดยจะทำการโรดโชว์ 14 จังหวัด ทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย ระยอง ชลบุรี นครปฐม ราชบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา และกรุงเทพมหานคร
“ธุรกิจของ RT มีศักยภาพในการเติบโต เนื่องจากกลุ่มผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจมายาวนาน เป็นหนึ่งในผู้นำงานรับเหมาก่อสร้างด้านวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิค ที่ต้องอาศัยความชำนาญและเทคโนโลยีระดับสูง มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างดี การเดินทางไปโรดโชว์จึงเป็นการนำเสนอข้อมูลให้นักลงทุนได้เข้าใจธุรกิจของบริษัทมากยิ่งขึ้น” นายสมภพ กล่าว
ด้าน นายเสกสรรค์ ธโนปจัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า RT มีทุนจดทะเบียนจำนวน 550 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 400 ล้านบาท มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท และอีกจำนวน 300 ล้านหุ้น จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) หรือคิดเป็นสัดส่วน 27.27% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO เพื่อเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
ขณะที่ นายชวลิต ถนอมถิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) (RT) กล่าวว่า RT เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษงานรับเหมาก่อสร้างด้านวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิคที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ด้วยประสบการณ์ที่มีมากว่า 19 ปี ทำให้ RT มีความชำนาญในธุรกิจ โดยบริษัทแบ่งประเภทการให้บริการออกเป็น 5 ประเภท คือ 1.งานก่อสร้างอุโมงค์และโครงสร้างใต้ดิน 2.งานก่อสร้างเขื่อน 3.งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 4.งานก่อสร้างท่อลอดใต้ดินด้วยวิธีดันท่อและวิธีเจาะและดึงท่อ และ 5.งานก่อสร้างด้านอื่นๆ เช่น งานป้องกันและเสริมเสถียรภาพทางลาด งานขุดดินและหินทั้งแบบใช้ระเบิดและไม่ใช้ระเบิด งานเจาะสำรวจธรณีวิทยา งานปรับปรุงฐานรากด้วยวิธีอัดฉีดน้ำปูน งานถนนและสะพาน งานประตูระบายน้ำ และงานวางรางรถไฟ เป็นต้น
ทั้งนี้ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศไทย จากผลงานการก่อสร้างของบริษัทที่มีคุณภาพ สามารถส่งมอบงานให้ลูกค้าตามมาตรฐานงานก่อสร้าง พร้อมทั้งมีเครื่องจักรที่ทันสมัยในการทำงาน ทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของบริษัทคือ ก้าวสู่ความเป็นเลิศด้านงานก่อสร้างทางวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิค
- นักลงทุนภูเก็ต ผุด “LAVISCO LIVING” คอนโดที่ตอบโจทย์ทุกไลฟสไตล์...
- โฮมโปร โกยกำลังซื้อไฮเอนด์ เปิด “โฮมโปร เชิงทะเล” กลางเกาะภูเก็ต มอบความคุ้ม-สร้...
- อาณา ดีเวลอปเมนท์ เปิดตัว “SERRANA” วิลล่าพรีเมี่ยมย่าน “ม่าหนิก” เฟสแรก 20 ยูน...
- กสิกรไทย เปิดตัว รถยนต์ไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ “FX EV Car” ที่ภูเก็ต...
- กระแสแรงเกินคาด! SUPALAI SENSE เขารัง ภูเก็ต ยอดขายทะลักวัน Pre-Sales กว่า 200 ล...
- ZARA เปิดตัวแฟลกชิฟสโตร์คอนเซปต์ใหม่ล่าสุดแห่งแรกในไทย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเ...
- January 2025 (12)
- December 2024 (21)
- November 2024 (25)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)