จับมือจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสม พิสูจน์สายพันธุ์ “เลพัง”
โพสเมื่อ : Friday, September 8th, 2017 : 4.56 pm
วางแผนจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสม กรมอุทยานฯ ร่วม กรมประมง มหาวิทยาลัยมหิดลและเกษตรศาสตร์ พิสูจน์สายพันธุ์ “เลพัง” จระเข้ที่จับได้ในขุมน้ำหน้าหาดเลพัง จ.ภูเก็ต ดำเนินการ เก็บตัวอย่างเลือด เซลล์เยื่อบุ ตรวจดีเอ็นเอ หากเป็นจระเข้น้ำเค็มร้อยเปอร์เซ็นต์ต้องปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติในทะเลจุดไหนจุดหนึ่งที่มีประวัติจระเข้อาศัยอยู่ หากเป็นลูกผสมจะต้องอยู่ในบรรยากาศกึ่งธรรมชาติ รู้ผลอีก 1-2 สัปดาห์
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (8 ก.ย.) ดร.ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์ พร้อมด้วย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณะบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายมนตรี สุมนฑา นักวิชาการประมงชำนาญการ (ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เคลื่อนคลาน) กรมประมง สัตว์แพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล นายไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ ประมงจังหวัดภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เดินทางมายังศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 5 (ภูเก็ต) เพื่อพิสูจน์ว่าจระเข้ตัวดังกล่าว (เลพัง) ที่จับได้บริเวณขุมน้ำหน้าหาดเลพัง เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา และนำมาเลี้ยงไว้ที่ศูนย์ฯ เป็นจระเข้สายพันธุ์น้ำเค็มแท้ หรือสายพันธุ์ผสม พร้อมทั้งมีการตรวจสภาพร่างกายทั่วไป เก็บข้อมูลทางชีวภาพ ตรวจหาตำหนิและไมโครชิพ เก็บตัวอย่าง เลือด เซลล์เยื่อบุ อุจจาระ รวมไปถึงตรวจเพศ และตรวจเชื้อโรคติดต่อ
โดยขั้นตอนการตรวจในวันนี้ เริ่มจากชุดไกรทอง แหล่งลุ่มน้ำตาปี จ.สราษฎร์ธานี ในสังกัดศูนย์ปราบปรามและป้องกันการทำประมงน้ำจืดภาคใต้ สุราษฎร์ธานี นำโดยนายนิคม สุขสวัสดิ หัวหน้าชุดฯ ได้ลงไปจับจระเข้เพื่อให้สัตว์แพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ลงไปตรวจวัดความยาว ได้ 2.87 เมตร ตรวจค้นหาไมโครชิพ ปรากฏว่าไม่พบ จึงได้ฝั่งไมโครชิพไว้ที่บริเวณโคนหางด้านช้าย เก็บตัวอย่างเลือด และเซลล์เยื่อบุ เพื่อนำไปตรวจหาอีเด็นเอ ในการพิสูจน์ว่าจระเข้ตัวดังกล่าวเป็นสายพันธุ์น้ำเค็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือ ว่าเป็นสายพันธุ์ผสม ซึ่งในขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะทราบผล ตรวจหาเพศพบว่าเป็นเพศผู้ ร่วมทั้งตรวจสุขภาพโดยรวม ทำให้ทราบว่าจระเข้ตัวนี้มีสุขภาพแข็งแรงดี
การตรวจหาดีเอ็นดี เพื่อที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนที่จะดำเนินการกับจระเข้ตัวดังกล่าว หากพบว่าเป็นจระเข้น้ำเค็มร้อยเปอร์เช็นต์ ก็จะต้องปล่อยสู่ธรรมชาติ และหากเป็นจระเข้ลูกผสมก็จะต้องดำเนินการหาที่อยู่ที่เป็นกึ่งธรรมชาติ เพราะจระเข้ไม่สามารถที่จะอยู่ในบ่อเลี้ยงดังกล่าวได้ตลอดไป จะต้องหาสถานที่ที่เหมาะสมกับจระเข้และปลอดภัยสำหรับประชาชนด้วย
อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการกังวลกันว่าจระเข้มีความเครียดที่ถูกนำมาขังไว้ในบ่อไม่ยอมกินอาหารนั้น เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงว่า ในช่วงแรกที่นำมาขังไว้ทางเจ้าหน้าที่ได้นำชีโครงไก่และปลาตายมาโยนให้ไม่ยอมกินอาหารจนถึงขณะนี้ เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะจระเข้จะกินอาหารสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเท่านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณที่กินเข้าไป และบางตัวกินอาหารครั้งหนึ่งอยู่ได้เป็นเดือน โดยเจ้าหน้าที่จะเริ่มให้อาหารที่เป็นปลามีชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งเป็นอาหารในธรรมชาติของจระเข้น้ำเค็ม
ดร.ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า วันนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานฯ กรมประมง มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเดินทางมาตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ของจระเข้ตัวดังกล่าว และตรวจสุขภาพ รวมทั้งอื่นๆ โดยวัดความยาวได้ 2.87 เมตร เป็นเพศผู้ มีสุขภาพแข็งแรงดี การการพิสูจน์สายพันธุ์นั้น ได้มีการเก็บตัวอย่างเลือดและเซลล์เยื่อบุ ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะทราบผลภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในเบื้องต้นจากการตรวจสอบสภาพร่างกายเป็นจระเข้น้ำเค็ม แต่เพื่อให้รู้ว่าเป็นจระเข้น้ำเค็มร้อยเปอร์เช็นต์ หรือพันธุ์ผสมกันจะต้องรอผลการตรวจดีเอ็นเอต่อไป
ดร.ปิ่นศักดิ์ กล่าวเพิ่มว่า เมื่อเราทราบสายพันธุ์แล้ว ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้วางแผนต่อไปว่าที่อยู่ที่เหมาะสมของจระเข้ตัวนี้จะอยู่ไหน ถ้าเป็นเค็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ต้องปล่อยสู่ธรรมชาติ ส่วนจะเป็นบริเวณใดของทะเลอันดามันจะต้องมีการศึกษากันอีกครั้ง แต่จะต้องเป็นจุดที่ประวัติว่าเคยมีทะเลอาศัยอยู่ และจะต้องเป็นความเห็นชอบของคนในพื้นด้วย
ด้าน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณะบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อทราบสายพันธุ์ที่ชัดเจนแล้วจะทำให้ทราบได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรในการหาที่อาศัยให้จระเข้ อยากเสนอว่าหากเป็นสายพันธุ์ผสม จะต้องหาที่อยู่ที่เป็นบ่อขนาดใหญ่เนื้อที่ 5-10 ไร่ เพื่อให้จระเข้อยู่ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ส่วนจะเป็นจุดนั้นให้ขึ้นอยู่กับทางจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีการติดสัญณาณที่จระเข้ด้วยเพื่อให้ทราบจุดที่อยู่ หากเป็นพันธุ์น้ำเค็มร้อยเปอร์เช็นต์จะต้องปล่อยสู่ธรรมชาติ ซึ่งในทะเลอันดามันมีพื้นที่อุทยานที่อยู่ห่างไกลชายฝั่งและไม่คนอาศัยอยู่หลายพื้นที่ น่าที่จะเป็นที่อยู่ของจระเข้ได้อย่างปลอดภัยและคนก็ปลอดภัยด้วย ในระยะอันใกล้นี้ อยากทางกรมประมงหาบ่อเลี้ยงที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ก่อน เพื่อให้จระเข้อยู่ในบรรยากาศที่ดี
ดร.ธรณ์ กล่าวเพิ่มว่า การพบเจ้าเลพังจระเข้น้ำเค็มในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาสนใจจระเข้น้ำเค็มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จากเดิมที่เราไม่มีข้อมูลจระเข้น้ำเค็มในธรรมชาติแล้ว และทำให้เราได้ทราบว่าคนไทยหันมาสนใจสัตว์ดุร้ายในธรรมชาติมากขึ้นและไม่ต้องการทำร้ายสัตว์เรานั้น แต่จะหาวิธีในการป้องกันให้สัตว์เรานั้นอยู่ในธรรมชาติของมันได้ การพบจระเข้น้ำเค็มตัวนี้น่าที่จะเป็น “เลพังโมเดล”ได้ เพื่อนำไปใช้หากเราพบจระเข้น้ำเค็มอีกว่าจะต้องดำเนินการในลักษณะแบบใด
- อบจ.ภูเก็ต ผุด “ศูนย์ฟอกเลือดด้วยไตเทียม” ขนาด 37 เตียง รองรับผู้ป่วย ไม่ต้องรอค...
- ได้นั่งแน่ รถบัส EV ของอบจ.ภูเก็ต ทดแทน รถโพถ้อง สีชมพู...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีเปิดประติมากรรม ศิลปะร่วมสมัย “ไอ้จุด” Lovel...
- นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “สมุดภาพภูเก็ต”...
- อบจ.ภูเก็ต นำเครื่องจักรปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานหิน (ภัตตาคารวังปลาเดิม)...
- กระแสแรงเกินคาด! SUPALAI SENSE เขารัง ภูเก็ต ยอดขายทะลักวัน Pre-Sales กว่า 200 ล...
- November 2024 (18)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)