เจ้าของทุ่งปอเทืองเผยนำแนวพระราชดำริปรับดิน /ให้ของขวัญให้คนภูเก็ต
โพสเมื่อ : Monday, December 26th, 2016 : 5.42 pm
เจ้าของ “ทุ่งปอเทือง” เผยนำแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ปรับปรุงดิน พร้อมมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนภูเก็ตได้ชื่นชมความสวยงาม ยินดีให้เข้าไปถ่ายรูปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คิดไม่ถึงจะมีคนสนใจมาก
นางปิยะพร อุดมทรัพย์ เจ้าของที่ดินที่ปลูกต้นปอเทือง ได้กล่าวถึงการนำต้นปอเทืองมาปลูกบนเนื้อที่ 22 ไร ตั้งอยู่บริเวณถนนเฉลิมพระเกียติ ร.9 หรือถนนบายพาส ใกล้กับธนาคารธนชาติ ก่อนถึงสี่แยกโลตัส อ.เมือง จ.ภูเก็ต ที่กำลังกลายเป็นสถานที่ถ่ายรูปและจุดนัดพบของคนภูเก็ตแห่งใหม่ จนโด่งดังในโลกโซเชียล และในแต่ละวัน มีคนเข้าไปถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก ว่า ปกติครอบครัวเดิมทำอาชีพเกษตรอยู่แล้ว ทั้งสวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ สำหรับที่ดินแปลงนี้สภาพดินไม่ดีไม่เหมาะที่จะทำการเกษตรปลูกพืชผักก็ให้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
และที่ผ่านมาตนได้ได้ศึกษาแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเฉพาะการปรับปรุงดิน ด้วยการนำวัชพืชสดมาใช้เป็นปุ๋ย และจากการศึกษาพบว่าต้นปอเทืองเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการบำรุงดิน และเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีมากในการปรับปรุงดินให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์จึงนำเอาแนวพระราชดำริดังกล่าวมาปรับใช้ด้วยการนำต้นปอเทืองมาปลูกในที่ดินดังกล่าว เพื่อให้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน
แต่อย่างไรก็ตามตนมองว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนใหญ่เป็นเส้นทางที่มีนักท่องเที่ยวและคนภูเก็ตขับรถผ่านไปมาเพื่อเดินทางไปยังแหลงท่องเที่ยวสำคัญๆ จึงมองว่านอกจากจะปลูกเพื่อเป็นปุ๋ยบำรุงดินแล้ว น่าจะทำเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวและคนภูเก็ตด้วย จึงลงมือปลูกต้นปอเทืองเมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว เพื่อให้สามารถออกดอกทันกับกับช่วงปีใหม่ เพื่อให้คนภูเก็ตและนักท่องเที่ยวมาถ่ายภาพและชื่นชมกับความสวยงามของทุ่งปอเทือง
จะเห็นว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวตนได้เปิดกว้างและทำทางลงจากถนนไว้ เพื่อให้คนที่เดินทางผ่านไปมาสามารถลงมาถ่ายรูปกับทุ่งปอเทืองได้สะดวก ซึ่งการเข้ามาถ่ายรูปก็สามารถเข้ามาได้เลย ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายใดๆ สิ่งที่ตนทำก็เพียงอยากเห็นรอยยิ้มและความประทับใจของผู้คนที่ได้มาสัมผัสกับความสวยงามของดอกปอเทืองเท่านั้น การทำจุดนี้ก็ไม่คิดว่าจะได้รับความสนใจมากขนาดนี้
นางปิยะพร ยังได้กล่าวต่อไปว่า ดอกปอเทืองจะมีอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ เมื่อดอกปอเทืองร่วงก็จะไถฝังกลบ เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน ซึ่งปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดที่มีคุณภาพดีมาก หลังจากนั้นก็จะทำการปลูกพืชผลต่างๆ มีทั้งผักและผลไม้ เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้วย มะละกอ ชะอม เป็นต้น ในลักษณะของเกษตรผสมผสาน และจะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไปในอนาคต
- ภูเก็ตเปิดตัว 5 ชุมชนท่องเที่ยวใหม่ ชูอัตลักษ์ของแต่ละแห่ง พร้อมสร้างเส้นทางท่อง...
- สุขทันที..ที่เที่ยวพังงา ขับรถเที่ยวหน้าฝน “ตะลุยกินผลไม้ถึงสวน”...
- เที่ยวแหลมพรหมเทพ ต้องไม่พลาด ของดีของหรอย กับ งาน “วิถีราไวย์”...
- พร้อมกันแล้วยัง สร้างเมืองให้เป็นสีรุ้ง รับจัดงาน “Discover Phuket Pride 2024 @...
- มุมมหาชน “อควาเรียภูเก็ต”...
- พบกับ โชว์นางเงือก ได้ทุกวัน ที่ “อควาเรียภูเก็ต”...
- October 2024 (9)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)