มอ.ภูเก็ต จี้ปัญหาขาดแคลนน้ำมีทางออก ระบุน้ำดิบมีเพียงพอถ้าบริหารจัดการดี
โพสเมื่อ : Tuesday, February 18th, 2020 : 1.45 pm
มอ.ภูเก็ต วาง 3 แนวทาง แก้ภูเก็ตขาดน้ำในพื้นที่ แนะจังหวัดระยะเร่งด่วนขุดเจาะน้ำใต้ดินมาใช้แล้งนี้ ขณะที่แผนระยะยาวรีไซเคิล-ผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เชื่อภูเก็ตมีน้ำดิบเพียงพอถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดผลงานวิจัยในหัวข้อ “การขาดแคลนน้ำและแนวทางการแก้ไขของจังหวัดภูเก็ต” โดยมี รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต พร้อมด้วย ผช.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ ดร.อวิรุทธิ์ พุฒิวงศ์รักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ร่วมแถลงข่าว ณ ห้อง 5103 A อาคาร 5A ตึกข้างอาคารสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 17 ก.พ.2563 ที่ผ่านมา
โดยผลการศึกษาระบุว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเมืองที่มีการเจริญเติบโตสูง จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองหนึ่งที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมาอย่างต่อเนื่องจากการเจริญเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในทุกปีของจังหวัดภูเก็ต เป็นเหตุในปริมาณความต้องการน้ำเพิ่มสูง ซึ่งตามข้อมูลของกรมชลประทาน ระบุว่า จังหวัดภูเก็ตมีความต้องการน้ำต่อปีเฉลี่ย 80 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่การผลิตน้ำสามารถผลิตได้เฉลี่ยเพียงแค่ 48 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเท่านั้น ปริมาณกว่า 32 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีที่เป็นความต้องการน้ำที่ยังขาดแคลน ทำให้จังหวัดภูเก็ตต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งของทุกปี โดยศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ได้ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจสำหรับปัญหาภัยแล้งในประเทศไทย พบว่า ภัยแล้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย คิดเป็นตัวเงินกว่า 15,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของจีดีพีของประเทศ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาขาดแคลนน้ำของภูเก็ตคือ การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนเมื่อปี 2562 พบว่า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนลดลงจากปริมาณน้ำฝนรายเดือนเฉลี่ย 10 ปี ในเกือบทุกเดือนตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่จะน้ำมาผลิตเป็นน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย
สำหรับการแก้ไขปัญหาสำหรับระยะสั้น (ระยะเร่งด่วน) ทางมหาวิทยาลัยได้เสนอให้ใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจากแผนที่แสดงศักยภาพน้ำบาดาลที่วิจัยโดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถระบุพื้นที่ที่สามารถขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้สอยได้สำหรับหน้าแล้งที่กำลังจะมาถึวทั้งหมด 7 จุด โดยมี 2 จุดที่มีศักยภาพสูงมากอยู่ในพื้นที่อำเภอถลาง คือ บริเวณบ้านโคกโตนด และบ้านลิพอน เป็นจุดที่เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ แอ่งน้ำอยู่ไม่ถึงจากผิวดินมาก เป็นน้ำจืดสนิท สามารถที่จะขุดเจาะนำน้ำขึ้นมาใช้ได้เลย
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ำดิบจากขุมเหมืองทั้ง 111 ขุมเหมือง ที่มีการเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยเครื่องมือที่ติดตั้งโดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนของน้ำต้นทุน ในกรณีที่การขุดเจาะน้ำบาดาลไม่ทันกับปริมาณความต้องการน้ำในหน้าแล้งนี้
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาระยะกลาง การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลน้ำและการเฝ้าติดตามข้อมูลน้ำจะมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและทันท่วงที อีกทั้งการจัดทำธนาคารน้ำในชุมชน กล่าวคือ การเก็บข้อมูลการใช้น้ำและการเติมน้ำเข้าสู่แอ่งน้ำบาดาล เสมือนการฝากถอนของทางธนาคาร จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบและเท่าทันปัญหา
ส่วนระยะยาวนั้น คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการผลิตน้ำต้นทุน อย่างเช่น เทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ หรือการรีไซเคิลน้ำ และเทคโนโลยีการเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด เป็นต้น จะเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับเติมเต็มช่วงว่างระหว่างความต้องการน้ำและการผลิตน้ำของภูเก็ตให้มีความสมดุลเพื่อให้จังหวัดมีทรัพยากรน้ำสำหรับใช้สอยอย่างยั่งยืน
โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ตนั้น ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้นำเสนอต่อทางจังหวัดภูเก็ตเพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา ทางจังหวัดภูเก็ตได้มีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมาโดยตลอด ได้มีการนำเสนอโครงการที่จะแก้ปัญหาทั้งหมด 9 โครงการ สู่การพิจารณาของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่จะมีการประชุมในเร็วๆ นี้
- November 2024 (11)
- October 2024 (24)
- September 2024 (39)
- August 2024 (33)
- July 2024 (36)
- June 2024 (34)
- May 2024 (38)
- April 2024 (38)
- March 2024 (46)
- February 2024 (37)
- January 2024 (37)
- December 2023 (41)
- November 2023 (33)
- October 2023 (30)
- September 2023 (53)
- August 2023 (53)
- July 2023 (41)
- June 2023 (46)
- May 2023 (48)
- April 2023 (50)
- March 2023 (59)
- February 2023 (61)
- January 2023 (59)
- December 2022 (63)
- November 2022 (64)
- October 2022 (69)
- September 2022 (56)
- August 2022 (59)
- July 2022 (41)
- June 2022 (49)
- May 2022 (60)
- April 2022 (50)
- March 2022 (49)
- February 2022 (40)
- January 2022 (39)
- December 2021 (56)
- November 2021 (51)
- October 2021 (44)
- September 2021 (26)
- August 2021 (31)
- July 2021 (20)
- June 2021 (20)
- May 2021 (17)
- April 2021 (4)
- March 2021 (16)
- February 2021 (20)
- January 2021 (5)
- December 2020 (16)
- November 2020 (18)
- October 2020 (20)
- September 2020 (21)
- August 2020 (15)
- July 2020 (23)
- June 2020 (14)
- May 2020 (8)
- April 2020 (64)
- March 2020 (97)
- February 2020 (48)
- January 2020 (74)
- December 2019 (54)
- November 2019 (49)
- October 2019 (41)
- September 2019 (51)
- August 2019 (61)
- July 2019 (70)
- June 2019 (73)
- May 2019 (81)
- April 2019 (72)
- March 2019 (63)
- February 2019 (70)
- January 2019 (77)
- December 2018 (71)
- November 2018 (84)
- October 2018 (82)
- September 2018 (60)
- August 2018 (88)
- July 2018 (136)
- June 2018 (95)
- May 2018 (99)
- April 2018 (89)
- March 2018 (70)
- February 2018 (83)
- January 2018 (79)
- December 2017 (77)
- November 2017 (87)
- October 2017 (90)
- September 2017 (79)
- August 2017 (111)
- July 2017 (106)
- June 2017 (97)
- May 2017 (77)
- April 2017 (64)
- March 2017 (74)
- February 2017 (62)
- January 2017 (104)
- December 2016 (103)
- November 2016 (106)
- October 2016 (103)
- September 2016 (110)
- August 2016 (132)
- July 2016 (153)
- June 2016 (95)
- May 2016 (124)
- April 2016 (57)
- August 2015 (1)
- June 2015 (2)
- May 2015 (9)
- April 2015 (1)
- March 2015 (2)
- February 2015 (1)