อุทยานแห่งชาติทางทะเลเร่งปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนทท.

โพสเมื่อ : Wednesday, January 25th, 2017 : 11.06 am

 

อุทยานแห่งชาติทางทะเล   พร้อมพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เข้าไปใช้บริการในพื้นที่อุทยานทุกแห่ง แต่จะต้องรักษาและไม่ทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติ 1485316672141.jpg

นายณัฐพล รัตนพันธ์ ผู้อำนวยการ ส่วนจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล  สำนักอุทยานแห่งชาติ กล่าวในโอกาสเป็นวิทยากรให้รู้ผู้เข้าร่วมอบรม โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ระดับต้น แก่ข้าราชการระดับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ และข้าราชการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับอุทยานแห่งชาติทางทะเล ซึ่งส่วนจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเลฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-27  มกราคม 2560 ที่ห้องประชุมสถาบันประชารัฐพิทักษ์ทะเล อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ถึงแนวทางการพัฒนาปรับปรุงอุทยานแห่งชาติทางทะเล ว่า

การอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากร การใช้ประโยชน์ ปัญหาและวางแผนการจัดการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลได้ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล และสามารถควบคุม แก้ไขปัญหาจากการใช้ประโยชน์และภัยคุกคามต่างๆ ได้ 1485316674574.jpg

ซึ่งในการพัฒนาปรับปรุงอุทยานแห่งชาติทางทะเล ขณะนี้ได้มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว รวมทั้งปกป้องไม่ให้เกิดการทำลายทรัพยากร เพื่อนำไปสู่มาตรฐานระดับสากล  เช่น ห้องน้ำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทุ่นจอดเรือ ท่าเทียบเรือลอยน้ำ เป็นต้น โดยดำเนินการในพื้นที่อุทยานทุกแห่ง และหากพบว่าพื้นที่ใดมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาไปมากเกิดไปก็จะมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และหมุนเวียนกระจายไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่นักท่องเที่ยวไม่รู้จัก หรือหากพบว่ามีการใช้ประโยชน์มากเกิดใหม่และเกิดการเสื่อมโทรมจำนวนต้องปิดแหล่งท่องเที่ยวนั้นสักระยะหนึ่งเพื่อให้ทรัพยากรได้ฟื้นตัว เช่น เกาะยูง เกาะตาชัย เป็นต้น  และหากจะเปิดให้บริการใหม่ก็ต้องมีการวางแผนในการใช้พื้นที่ร่วมกับทางผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องก่อน เพื่อให้เกิดผลกระทบกับทรัพยากรน้อยที่สุด1485316676907.jpg

นายณัฐพล กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการจัดเก็บรายได้ของอุทยานฯ นั้นซึ่งในอดีตมีปัญหาพอสมควร แต่ปีที่ผ่านมา เราสามารถจัดเก็บรายได้จากการเข้าชมอุทยานฯ ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ได้มากถึง 1,300 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนนี้มอบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5% เพื่อดูแลในเรื่องของสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ น้ำเสีย เป็น ต้น และอีก 20 % คืนให้กับอุทยานฯ แต่ละแห่งที่เก็บได้ เพื่อนำไปบำรุงพัฒนาซ่อมแซมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว เช่น ห้องน้ำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซ่อมทุนจอดเรือ การจ้างบุคลากรเพิ่มเติม เป็นต้น ซึ่งมีระเบียบกำหนดไว้แล้ว แต่หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ก็ให้ทางอุทยานฯ ทำแผนงานโครงการ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณแยกต่างหากกรณีงบที่ได้รับการจัดสรรมาไม่เพียงพอ

ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องดำเนินการในปี 2560 นั้น มีหลายโครงการที่จะต้องเร่งดำเนินการ เช่น การสร้างบันพักของนักท่องเที่ยว บ้านพักเจ้าหน้าที่  การวางทุ่นจอดเรือ ซึ่งจะต้องมีปริมาณเพียงพอและเหมาะสมในการป้องกันไม่มีทรัพยากรถูกทำลายจากการทิ้งสมอ โครงการทำท่าจอดเรือลอยน้ำ เพื่อให้นำเรือไปจอดเทียบได้เร็วขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เช่น เกาะช้าง เกาะเสม็ด ชุมพร ตะรุเตา เกาะลันตา เกาะสุรินทร์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละจุดใช้งบประมาณไม่เท่ากัน จุดละประมาณ 3-4 ล้านบาท รวมงบประมาณ60 – 70 ล้านบาท  เป็นต้น 1485316679125.jpg

ส่วนการจัดเก็บงบประมาณในปี 2560 ของอุทยานฯ ทั้ง 22 แห่ง นั้นคาดว่าจะสามารถเก็บได้เพิ่มกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วง 3 เดือนของปีนี้ สามารถจัดเก็บได้มากกว่าปีที่ผ่านมา 127 ล้านบาท เช่น เกาะเสม็ด ปีนี้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพและได้รับความร่วมมือมากขึ้น โดยในช่วง3 เดือนเศษ สามารถจัดเก็บได้เท่ากับการจัดเก็บทั้งปีของปีที่ผ่านมา และอีกหลายแห่งๆ ที่มีรายงาน พบว่าสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นทั้งสิน เช่น หมู่เกาะสิมิลัน สามารถจัดเก็บได้วันละ กว่า 2 ล้านบาท เป็นต้น  ซึ่งรายได้ที่จัดเก็บได้นั้นก็จะนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงอุทยานฯ ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เพียงพอในการรองรับการท่องเที่ยว เพื่อทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น