ราชภัฎฯเดินหน้าให้ความรู้หวังแก้ปัญหาพัฒนาธุรกิจชุมชนโดยใช้วิทยาศาสตร์

โพสเมื่อ : Friday, July 22nd, 2016 : 3.20 pm

ใช้โฆษณา

www.pic-phuket.com สนใจร่วมฟังสัมมนา จองบัตรล่วงหน้า 076217199,0865092424

ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบเคมี ม.ราชภัฏภูเก็ต เดินหน้าบริการความรู้ หวังแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจชุมชนโดยใช้วิทยาศาสตร์

072b7ab3-205f-4b30-b77a-719937290949 - Copy

คลินิกเทคโนโลยี และศูนย์ปฏิบัติการทดสอบทางเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดงาน “จับคู่ธุรกิจกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน” โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน ร่วมด้วยนายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ นายอัครพล บุตรสุริย์ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทดสอบทางเคมี ตลอดจน คณาจารย์ ผู้ประกอบการธุรกิจ-วิสาหกิจชุมชนผู้ปฏิบัติงานด้านท่องเที่ยว อุตสาหกรรม สินค้า OTOP อาหาร และสิ่งแวดล้อมจาก จ.ภูเก็ต และ จ.ฝั่งอันดามันเข้าร่วมอย่างคึกคัก ณ โรงแรมเมโทรโพล ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

adbdf061-2980-4e85-ab44-597ad775bf1c

นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ กล่าวถึงการจัดงานจับคู่ธุรกิจฯ ว่า “ด้วยยุทธศาสตร์ประเทศและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่มุ่งเน้นพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ซึ่งเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับ ม.ราชภัฏภูเก็ต นอกเหนือจากภารกิจด้านการผลิตบัณฑิตและงานวิจัยที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีพันธกิจด้านบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคม ด้วยศักยภาพของศูนย์ปฏิบัติการทดสอบทางเคมี ซึ่งได้รับมาตรฐาน ISO IEC 17025 สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีการสัมมนาประเด็น‘ธุรกิจกับวิทยาศาสตร์’ เพื่อรับทราบปัญหา แนะนำแนวทางการแก้ไข และการยกระดับ ประเภทกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีเครื่องสำอาง คุณภาพสิ่งแวดล้อม (น้ำและน้ำเสีย) นอกจากนี้มีการสาธิตและให้บริการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เช่น เทคนิคการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารการปรับปริมาณความเป็นกรด-ด่าง ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด การตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์ในอาหาร และการตรวจสอบความกระด้างในน้ำเป็นต้น”

5582862c-6d27-4c89-b2e5-5e26d9010f09

ด้าน นายอัครพล บุตรสุริย์ กล่าวว่า “ม.ราชภัฏภูเก็ต มุ่งเน้นขับเคลื่อนถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน-สินค้า OTOP ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และยกระดับการเฝ้าระวังทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์และระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการโรงแรม มุ่งให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด และมีความต่อเนื่องครอบคลุมปัญหาโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ตามมาตรฐาน และมีความต่อเนื่องครอบคลุมปัญหาโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจะเกิดความรู้และความตระหนักถึงการนำข้อกำหนดข้อบังคับตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ตลอดจนระบบบำบัดคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันอย่างยั่งยืนต่อไป” ผอ.ศูนย์ฯเคมี กล่าว

adbdf061-2980-4e85-ab44-597ad775bf1c