น้ำทะเลหน้าหาดป่า จ.ภูเก็ต เปลี่ยนสี คาดเกิดจากแพลงตอนบลูม

โพสเมื่อ : Thursday, February 9th, 2017 : 6.40 pm

น้ำทะเลหน้าหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต เปลี่ยนสี นักท่องเที่ยวยังลงเล่น ขณะที่เจ้าหน้าที่สำนักสิ่งแวดล้อมที่ 15 ลงพื้นที่ตรวจสอบ เบื้องต้นระบุเกิดจากแพลงตอนบลูม

วันนี้ ( 9 ก.พ.) บริเวณชายหาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งมีนักท่องเที่ยวนอนเล่น อาบแดด และลงเล่นน้ำจำนวนมาก แต่จากการสังเกตพบว่าน้ำทะเลบริเวณชายหาดป่อง โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายหาดพบว่ามีสีดน้ำตางออกไปทางดำ โดยกระจายไปในบริเวณกว้าง และน้ำแบ่งเป็น 2 สีอย่างชัดเจน เกือบตลอดแนวชายหาด

อย่างไรก็ตามจากการสอบถามผู้ประกอบการบริเวณชายหาดทราบว่า น้ำทะเลเปลี่ยนสีเริ่มเกิดขึ้นมาประมาณ 1 อาทิตย์ แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังลงเล่นน้ำตามปกติ ส่วนสาเหตุของน้ำเปลี่ยนสีเกิดจากอะไรไม่ทราบ แต่เหตุการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงแดดจัด ซึ่งเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาก็เคยเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีมาแล้ว โดยครั้งนั้นทางเจ้าหน้าที่ระบุว่าเกิดจากแพลนตอนบลูม

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่าวันนี้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ 15 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้น้ำทะเลบริเวณชายหาดป่าตอง โดยนายณัฐกฤษณ์ พลเพชร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ภูเก็ต กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำทะเลที่หาดป่าตอง ว่า จากการตรวจตรวจในเบื้องต้นคาดว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเกิดจากแพลงตอนบลูม เนื่องจากอาหารที่ร้อนจัด น้ำที่ไหลลงทะเลมีปริมาณสารอาหารจำนวนมาก และเป็นสารอาหารที่เหมาะสมกับแพลนตอน จึงทำให้แพลนตอนโตเร็วหรือที่เรียกว่าแพลนตอนบลูม แต่อย่างไรก็ตามปรากฎการณ์แพลนตอนบลูมจะมีอายุอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็ขึ้นกับสารอาหารที่ไหลลงไปในทะเลว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ตามน้ำที่นำสารอาหารไหลลงทะเลนั้นไม่ใช้น้ำเสีย แต่เป็นน้ำจากครัวเรือน สถานประกอบการที่ผ่านการบำบัดแล้ว แต่ตัวสารอาหารยังมี จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงตอนโตเร็วขึ้นจนระบบในธรรมชาติไม่สามารถควบคุมกันเองได้ ส่วนตัวแพลนตอนจะมีพิษหรือไม่ก็ต้องรอผลการตรวจวิเคราะห์ จากหน่วยงานที่เก็บตัวอย่างไปตรวจสอบ ซึ่งคาดว่าเร็วๆนี้จะได้พลกลับมา แต่อย่างไรก็ตามจากการเก็บตัวอย่างไปตรวจเมื่อเดทอน เม.ย.ที่ผ่านมาพบว่าเป็นชนิดที่ไม่มีพิษ ซึ่งในครั้งนี้ก็คาดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกัน